การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาสำหรับผู้เป็นโรคจิตเภท

Main Article Content

ประหยัด ประภาพรหม
จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์
มธุริน คำวงค์ปิน
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาสำหรับผู้เป็นโรคจิตเภท และศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา และการกลับมารักษาซ้ำของผู้เป็นโรคจิตเภทที่ได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เป็นโรคจิตเภทที่กลับมารักษาซ้ำจำนวน 66 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) โปรแกรมส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาสำหรับผู้เป็นโรคจิตเภทที่กลับมารักษาซ้ำ 3) แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา 4) แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เป็นโรคจิตเภท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และสถิติทดสอบค่าที

ผลการศึกษาพบว่า

1. โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาสำหรับผู้เป็นโรคจิตเภทมีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างหัวข้อความรู้และวัตถุประสงค์ อยู่ระหว่าง 0.6-1.0

2. กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาภายหลังสิ้นสุด โปรแกรม 1 เดือน และ 3 เดือน มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 และมีคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาภายหลังสิ้นสุดโปรแกรม 1 เดือน และ3 เดือน มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

3. ภายหลังสิ้นสุดโปรแกรม 3 เดือนกลุ่มทดลองไม่มีการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ส่วนกลุ่มควบคุมมีการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ร้อยละ 15.15

4. ความพึงพอใจของผู้เป็นโรคจิตเภทต่อโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาสำหรับผู้เป็นโรคจิตเภทอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

This developmental research study aimed to develop the Medication Adherence Enhancing Program (MAEP) for persons with schizophrenia who re-admitted, and to examine the medication adherence and re-admission rates of this target population. The sample included sixty-six re-admitted schizophrenic persons. The research instruments were 1) personal data form 2) MAEP 3) the medication adherence scales 4) the re-admission records and 5) the satisfaction of using MAEP questionnaire. One way repeated analysis of variance and paired sample t-test were used for data-analysis.

The research results were:

1. The component of MAEP for persons with schizophrenia was valid. The IOC (Item Objective Congruence) coefficients ranges from .6-1.0.

2. After receiving the program, the experimental group had scores of medication adherence statistically significant at 1 month and 3 months period higher than at pretest period (p = .001) and also higher than the control group at 1 month and 3 months period (p = .001).

3. The re-admission rates of the control group at 3 months after the end of the program were 15.15 percent while it is none for the experimental group.

4. The satisfaction of persons with schizophrenia toward MAEP was at a high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ประหยัด ประภาพรหม, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสวนปรุง

จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสวนปรุง

มธุริน คำวงค์ปิน, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสวนปรุง

ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ, รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่