ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะต่อการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

Main Article Content

ชัฎชฎา คมขำ
รัชนีกร เกิดโชค

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพัฒนานิคม ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน โดยการจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะ ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 6 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที เพื่อพัฒนาทักษะ 1) การให้ความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติตัว 2) การจัดการกับอาการทางจิต 3) การบริหารจัดการยา 4) การติดต่อสื่อสาร การขอความช่วยเหลือจากแหล่งสนับสนุนทางสังคม และการบริหารเวลา 5) การเผชิญความเครียด การผ่อนคลายความเครียด 6) การพัฒนาความมีคุณค่าในตนเองและการเผชิญกับการรับรู้ตราบาป ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1)โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะ 2) แบบประเมินการทำหน้าที่ทางสังคม 3) แบบวัดทักษะการจัดการกับอาการและการบริหารจัดการยา ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยเครื่องมือสองชุดหลัง มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาคเท่ากับ 0.94 และ 0.90 ตามลำดับ

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

This research was a quasi-experiment design. The objective of this research was to examine the effect of psychoeducation program focusing on social skill training for schizophrenic patients in community. The sample consisted of forty schizophrenic patients receiving services in outpatient department, Patananikom Hospital, who met the inclusion criteria, were matched pair and then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the psychoeducation program focusing on skill training for 3 weeks composed of group activities 45-60 minutes twice a week to improve social functioning. Research instruments were: 1) the psychoeducation program focusing on skill training, 2) The social function scale, and 3) The medication and symptom management scale. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The Chronbach’s Alpha coefficient reliability of the two latter instruments were .94 and .90 respectively. The t-test was used in data analysis.

Major findings were as follows: 1. The social functioning of schizophrenic patients in community who received the psychoeducation program focusing on skill training was significantly higher than that before (p < .05). 2. The social functioning of schizophrenic patients in community who received the psychoeducation program focusing on skill training was significantly higher than those who received regular caring activities (p< .05).

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชัฎชฎา คมขำ, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

รัชนีกร เกิดโชค, อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย