ผลของพฤติกรรมบำบัดโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มี วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าว ของเด็กออทิสติกก่อนและหลังได้รับพฤติกรรม บำบัดโดยครอบครัวมีส่วนร่วม และเปรียบเทียบ พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกระหว่างกลุ่ม ที่ได้รับพฤติกรรมบำบัดโดยครอบครัวมีส่วนร่วม กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กออทิสติก อายุ 6-12 ปี และครอบครัวที่มารับบริการรักษา แผนกผู้ป่วยใน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์โดยได้รับ การจับคู่ (matched pair) แล้วสุ่มโดยใช้วิธีการ จับฉลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลโดยใช้พฤติกรรม บำบัดโดยครอบครัวมีส่วนร่วม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมิน พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก แบบวัดความ สามารถการปฏิบัติพฤติกรรมบำบัดในเด็กออทิสติก ที่บ้าน แนวทางปฏิบัติพฤติกรรมบำบัดโดย ครอบครัวมีส่วนร่วม สำหรับพยาบาลและคู่มือ การใช้พฤติกรรมบำบัดโดยครอบครัวมีส่วนร่วม สำหรับครอบครัว เครื่องมือทุกฉบับได้รับการ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และได้ค่าความสอดคล้องจากการ สังเกตแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเท่ากับ .81, .85, .90, .92 และ .93 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของ แบบวัดความสามารถการปฏิบัติพฤติกรรมบำบัด ในเด็กออทิสติกที่บ้านเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Wilcoxon
ผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็ก ออทิสติก หลังได้รับพฤติกรรมบำบัดโดยครอบครัว มีส่วนร่วมลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรม ก้าวร้าวของเด็กออทิสติก หลังการทดลองในกลุ่ม ที่ได้รับพฤติกรรมบำบัดโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่า การใช้ พฤติกรรมบำบัดโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ควรเป็น ส่วนหนึ่งของระบบบริการพยาบาลสุขภาพจิตและ จิตเวชสำหรับเด็กออทิสติก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
งานสถิติโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมป์. (2556). รายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงประจำปี. สมุทรปราการ: โรงพยาบาลยุวประสาท ไวทโยปถัมป์.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบําบัดทางเลือก ในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: คุรสภาลาดพร้าว.
เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. (2550). พัฒนาการมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส จำกัด.
อัญชรส ทองเพ็ชร. (2554). ผลของพฤติกรรมบำบัด ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก แผนกผู้ป่วยนอก. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพ จิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Centers for Disease Control and Prevention of America. (2012). Prevalence of autism spectrum disorders–autism and developmental disabilities monitoring network, 14 sites. United States, 61(3), 1-19
Chou, K ., Lu, R. B., & Mao, W. C. (2010). Factors relevant to patient assaultive behavior and assault in acute inpatient psychiatric untis in Taiwan. Archives of Psychiatric Nursing, 16(4), 187-195
Erbas, Y., Ceulemans, E., Boonen, J., Noens, I., & Kuppens, P. (2013). Emotion differentiation in autism spectrum disorder. Research in Autism Spectrum Disorders, 7(10), 1221- 1227.
Goodman , R., & Scott, S. (2012). Child and Adolescent Psychiatry. (Third Edition). Publishing Ltd. Chapter, 39, 328-335.
Hill, A. P., Zuckerman, E. Z., Hagen, A. D., Kriz, D. J., Duvall, S. W., Santen, J. V., Nigg, J., Fair, D., & Fombonne, E. (2014). Aggressive behavior problems in children with autism spectrum disorders: Prevalence and correlates in a large clinical sample. Research in Autism Spectrum Disorders, 8, 1121-1133.
Hillman, J. (2006). Supporting and treating families with children on the autistic spectrum: The unique of the generalist psychologist. Psychotherapy: Theory, Research, Practice, Training, 43(3), 349-358.
Jull, S., & Mirenda, P. (2011). Parent facilitators for preschoolers with autism. Journal of Positive Behavior intervention, 13,17-30.
Kanne, S. M., & Mazurek, M. O. (2011). Aggression in children and adolescents with ASD: Prevalence and risk factors. Journal of Autism and Developmental Disorders, 41(7), 926-937.
Kloosterman, P. H., Kelley, E. A., Parker, J. D., & Craig, W. M. (2014). Executive functioning as a predictor of peer victimization in adolescents with and without an autism spectrum disorder. Research in Autism Spectrum Disorders, 8, 244-254.
Maskoto, S. (2006). Parents’ satisfaction with the pediatric intensive care unit services of Siriraj Hospital. Master’s thesis in Population Education, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.
Mazurek, M. O., Kanne, S. M., & Wodka, E. L. (2013). Physical aggression in children and adolescents with autism spectrum disorders. Research in Autism Spectrum Disorders, 7, 455–465.
Roberts, J., Williams, K., Carter, M., Evans, D., Parmenter, T., Silove, N., … Warren, A. (2011). A randomised controlled trial of two early intervention programs for young children with autism: Centre-based with parent program and home-based. Research in Autism Spectrum Disorders, 5(4), 1553–1566.
Schepp, K. (1995). Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children. Unpublished manuscript. University of Washington.
Skinner,B. F. (1953). Science and Human Behavior. New York: The Free Press.
Yodofsky, S., Silver, J. M., & Jackson, W. (1986). The Overt Aggressive scale for the objective rating of verbal and physical aggression. American Journal of psychiatry, 143(1), 35-39.