ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา ต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

Main Article Content

อินทุกานต์ สุวรรณ์
สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม สุขภาพจิตศึกษาต่อความร่วมมือในการรักษาด้วย ยาของผู้ป่วยจิตเภท และญาติผู้ดูแล


วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย กึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภท และ ญาติผู้ดูแล จากทะเบียนผู้รับบริการคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลบรรพตพิสัยจำนวน 40 ราย กลุ่ม ตัวอย่างได้รับการจับคู่ (matched pairs) ด้วยค่า Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS) น้อยกว่า 30 คะแนน สุ่มแบ่งเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรม สุขภาพจิตศึกษา สัปดาห์ละครั้ง 5 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามปกติ เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยแบบประเมินความร่วมมือ ในการรักษาด้วยยา ก่อน และหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที


ผลการศึกษา: ผลการวิจัยมีดังนี้


(1) หลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา ผู้ป่วยจิตเภทในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการให้ ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาสูงกว่า (M=3.80, SD=.21) ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา (M=2.07, SD=.10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


(2) หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยการให้ ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของกลุ่มทดลอง (M = 3.80, SD = .21) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 2.04, SD = .14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษธิดา ธรรมดา. (2553). การวิเคราะห์ สถานการณ์การส่งเสริมความร่วมมือใน การรักษาด้วยยาของผู้ป่วย โ ร ค จิต เ ภ ท โรงพยาบาลสวนปรุงจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล จิตเวชและสุขภาพจิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือ ผู้เข้าอบรมหลักสูตร การเข้าถึงบริการและ ดูแลผู้ป่วย โรคจิตสำหรับแพทย์ (พิมพ์ครั้ง ที่ 6). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

ธงรบ เทียนสันติ์. (2556). ผลของโปรแกรมการ ให้คำปรึกษาครอบครัวร่วมกับการให้ สุขภาพจิตศึกษาต่อพฤติกรรมการใช้ยาตาม เกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาพร กาญจนรักษ์. (2545). ปัจจัยทำนาย พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson, C. M., Hogarty, G. E., & Reiss, D. J. (1980). Family treatment of adult schizo¬phrenic patients: A psycho-educational approach. Schizophrenia Bulletin, 6(3), 490-505.

Azrin, N. H. & Teichner, G. (1998). Evaluation of an instructional program for improving

medication compliance for chronically ill outpatients. Behavior Research Therapy, 39(9), 849-861.

Ebtsam, H. S., Nefissa, M. A. K., Nadia, E.S., & Amany, A. M. (2018). Effect of Psycho educational Program on Improving of Medication Adherence among Schizo¬phrenic Patients. Journal of Nursing and Health Science, 7(6), 69-79.

Farragher, B. (1999). Treatment compliance in the mental health service. Irish Medical Journal, 92(6), 392-394.

Gilmer, T. P., Dolder, C. R., Lacro, J. P., Folsom, D. P., Lindamer, L., Garcia, P., et al. (2004). Adherence to treatment with antipsychotic medication and health care costs among Medicaid beneficiaries with schizophrenia. American Journal of Psychiatry, 161(4), 692-699.

Kumar, S. & Sedgwick, P. (2001). Non-compli¬ance to psychotic medication in Eastern

India: Clients’ perspective Part II. Journal of Mental Health, 10(3), 279-284.

Marder, S. R. (2003). Overview of partial com¬pliance. Journal of Clinical Psychiatry, 64(16), 3-9.

Pekkala, E., & Merinder, L. (2002). Psychoedu¬cation for schizophrenia. Cochrane Data¬base of Systematic Reviews, Cd002831. doi:10.1002/14651858.Cd002831

Pitschel-Walz, G., Bauml, J., Bender, W., Engel, R. R., Wagner, M., & Kissling, W. (2006). Psychoeducation and compliance in the treatment of schizophrenia: Results of the Munich Psychosis Information Project Study. Journal of Clinical Psychiatry, 67(3), 443-452. doi:10.4088/jcp.v67n0316