ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหญิงวัยกลางคน

Main Article Content

วราพร ศรีภิรมย์
โสภิณ แสงอ่อน
พัชรินทร์ นินทจันทร์
วรภัทร รัตอาภา

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์: การวิจัยแบบบรรยายความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความแข็งแกร่งในชีวิต และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคมกับการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหญิงวัยกลางคน กรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ประยุกต์จากทฤษฏีการปรับตัวของรอย


  วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหญิงวัยกลางคนที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกตรวจโรคจิตเวชศาสตร์ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง  จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 6 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า  แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต แบบประเมินความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคม และแบบสอบถามการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน


  ผลการศึกษา: ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหญิงวัยกลางคนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.56, p = .000) ส่วนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความแข็งแกร่งในชีวิต และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหญิงวัยกลางคนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .47, p = .000; r = .39, p = .000; และ r = .38, p = .000) ตามลำดับ


  สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในหญิงวัยกลางคนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า โดยภาวะซึมเศร้ามีค่าขนาดความสัมพันธ์มากที่สุด ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญที่จะใช้ในการเสริมสร้างการปรับตัวในหญิงวัยกลางคนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วราพร ศรีภิรมย์, Mahidol University

Nursing

โสภิณ แสงอ่อน, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Assistant Professor

Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

References

กรมการปกครองและสานักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สำรวจประชากรผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทยปีงบประมาณ 2555-2556. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครองและสำนักสถิติแห่งชาติ.

กรมสุขภาพจิต. (2556) เอกสารเผยแพร่ กลยุทธ์กรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

ชญาณิษฐ์ ปัญญาทอง. (2544). การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดาวชมพู นาคะวิโร. (2559). พัฒนาการตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์: วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ. ในมาโนช หล่อตระกูล, ธนิตา ตันตระรุ่งโรจน์ และนิดา ลิ้มสุวรรณ, ตำราพฤติกรรมศาสตร์ทางการแพทย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2.,หน้า 27-36). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

นุชนาถ สุวรรณประทีป. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญสม กองนิล (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความคิดอัตโนมัติในด้านลบ การปรับตัวทางสังคม กับความซึมเศร้าในหญิงวัยหมดระดูโรงพยาบาลของรัฐกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภร และพิศสมัย อรทัย. (2552). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(1), 1-17.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน และจริยา วิทยะศุภร. (2556). ความแข็งแกร่งในชีวิต เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ และสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 7(2), 12-26.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน และทัศนา ทวีคูณ. (2555). โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต: A resilience-enhancing program. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

พิชัย อิฏฐสกุล และศิริไชย หงษ์สงวนศรี. (2558). โรคซึมเศร้า. ในมาโนช หล่อตระกลู และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่4., หน้า 167-178 ). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

รุจิรางค์ แอกทอง. (2549). การปรับตัวของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปกร.

มะลิวรรณ วงษ์ขันธ์, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1), 57-75.

มาโนช หล่อตระกูล. (2543). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: บริษัทไวเอท-เอเยิร์สท์ (ประเทศไทย) จำกัด.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2542). แบบประเมินวัดความรุนแรงของระดับภาวะซึมเศร้าชนิดให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามเอง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 20, 17-19.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2530). การช่วยเหลือผู้ป่วยในการปรับตัวต่อภาวะวิกฤตของชีวิต. ในสมจิต หนุเจริญกุล, การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ (พิมพครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: เอเชียเพรส.

สินเงิน สุขสมปอง, สาวิตรี แสงสว่าง, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์ และวัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์. (2559). ความชุกของโรคจิตเวชในสังคมเมืองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารสวนปรุง, 32(1): 28-41.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2545). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพิน คำโต. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อายุพร กัยวิกัยโกศล, สุทธามาศ อนุธาตุ, และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1): 27-43.

อังคณา หมอนทอง. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนความหวังกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alaphilippe, D. (2008). Self-esteem in the elderly. Psychologie & Neuropsychiatrie Du Vieillissement., 6(3), 167-76. doi: 10.1684/pnv.2008.0135.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.

Barut, J. K., Dietrich, M. S., Zanoni, P. A., & Ridner, S. H. (2016). Sense of belonging and hope in the lives of persons with schizophrenia. Archives of Psychiatric Nursing, 30(2), 178-184. doi:10.1016/j.apnu.2015.08.009

Byoung-Suk, K., Sullivan, W. C., & Wiley, A. R. (1998). Green common spaces and the social integration of inner-city older adults. Retrieved July 7, 2017 from http://find.galegroup.com.proxy.lib.umich.edu/itx/infomark.do?&contentSet=IAC

Chang, A., Park, J., & Sok, S.R. (2013). Relationships among self-efficacy, depression, life satisfaction, and adaptation among older korean adults residing in for-profit professional nursing facilities. The Journal of Nursing Research, 21(3), 162-9.

Chick, N., & Meleis, A.I. (1986). Transitions: A nursing concern. In P.L. Chinn (Ed.), Nursing research methodology. (pp. 237-257). Boulder, CO: Aspen Publication.

Chong, M., Chen, C., Tsang, H., Yeh, T., Chen, C., Lee, Y., Lo, H., et al. (2001). Community

study of depression in old age in Taiwan: Prevalence, life events and socio-demographic correlates. British Journal of Psychiatry, 178(1), 29-35. doi:10.1192/bjp.178.1.29

Cohen, S., & Williamson, G. (1988). Perceived stress in a probability sample of the United States. The

Social Psychology of Health, 3(1), 31-63.

Dudex. (1997). Health beliefs and complience of cardiac patient. Applied Nursing Research, 5, 181-185.

Erikson, E. H., (1968). Identity: Youth and crisis. New York: Norton.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Firth, K. (2004). The adaptive value of feeling in control in midlife. In Lachman, M. E., Brim, O. D., Ryff, C. D. & Kessler, R.(Eds.), How healthy are we: A national study of health in midlife (pp. 320-349). Chicago: University of Chicago Press.

Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Hague: The Bernard van leer foundation.Retrieved June 1,2017, from https://eric.ed.gov/?id=ED386271

Hagerty, B. M., Lynch-Sauer, J., Patusky, K. L., Bouwsema, M., & Collier, P. (1992). Sense of belonging: A vital mental health concept. Archives of Psychiatric Nursing, 6(3), 172-177.

Hagerty, B. M., & Patusky, K. (1995). Developing a measure of sense of belonging. Nursing Research, 44(1), 9-13.

Huang, C.-Y., Sousa, V. D., Tsai, C.-C., & Hwang, M.-Y. (2008). Social support and adaptation of Taiwanese adults with mental illness. Journal of Clinical Nursing, 17(13), 1795-1802. doi:10.1111/j.1365-2702.2008.02310.x

Kostka, T., & Jachimowicz, V. (2010). Relationship of quality of life to dispositional optimism, health locus of control and self-efficacy in older subjects living in different environments. Quality of Life Research, 19, 351-361.

Lachman, M.E. (2004). Development in Midlife. Annual Review of Psychology, 55(1), 305-331. Doi: 10.1146/annurev.psych.55.090902.141521

Lundman, B. & Norbreg, A. (1993). Coping Strategies in People with Insulin-Dependent Diabetes Mellitus. The Diabetes Educator, 19(3), 198-204.

Mahakittikun, K., Thapinta, D., Sethabouppha, H., Kittirattanapaiboon, P. (2013). Predicting Factors of Relapse among Persons with a Major Depressive Disorder. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 17(1), 68-82.

Miller, C.A. (2001). The relationship between body-image, self-esteem, level of depression, and quality of life in elderly persons following lower limb amputation. Doctoral dissertation, Walden University. United State of America.

O' Neill, E. (2008). Quality of life: the intangible burden of depression. In O' Neill, E. (Ed.), The impact of depression on daily life. (1 th ed., pp. 4-5). Retrieved May 26, 2018, from http://www.depressionalliance.org/PDF/inside-story-report.pdf.

Orzechowska, A., Zajączkowska, M., Talarowska, M., & Gałecki, P. (2013). Depression and ways of coping with stress: a preliminary study. Medical Science Monitor : International Medical Journal of Experimental and Clinical Research, 19, 1050–1056. doi:10.12659/MSM.889778

Peden, A. R., Hall, L. A., Rayens, M. K., & Beebe, L. L. (2000). Reducing negative thinking decreases the risk of depressive symptoms in college women. The Journal of Nursing Scholarship, 32, 145–151.

Pretty, G. M. H., Conroy, C., Dugay, J., Fowler, K., & Williams, D. (1996). Sense of community and its relevance to adolescents of all ages. Journal of Community Psychology, 24(4), 365-379.

Prezza, M., & Osrantin, S. (1998). Sense of community and life satisfaction: Investigation in three different territorial contexts. Journal of Community & Applied Social Psychology, 8, 181-194.

Reid, J. D. (1999). Women’s health in midlife. In N. E. Avis (Author) & S. L. Willis (Ed.), Life in the middle: Psychological and social development in middle age (pp. 105-147). San Diego, CA: Academic.

Roy, C. (1991). The Roy adaptation model. The definitive statement. Norwalk CT: McGraw-Hill/Appleton & Lange.

Roy, C., & Andrews, H. A. (1999). The Roy adaptation model. Stamford CT: Appleton & Lange.

Roy, C., Whetsell, M. V., & Frederickson, K. (2009). The Roy Adaptation Model and Research:

Global Perspective. Nursing Science Quarterly, 22(3), 209–211. https://doi.org/10.1177/0894318409338692

Sangon S. (2001). Predictors of depression in Thai women. Unpublished doctoral dissertation, University of Michigan, United State of America.

Sangon S. (2004). Predictors of depression in Thai women. Research and Theory for Nursing Practice, 18(2-3), 243-260.

Seeherunwong, A., Boontong, T., Sindthu, S., & Nilchaikovit, T. (2002). Self-regaining from loss of selfworth: A substantive theory of recovering from depression of middle-aged Thai women. Thai Journal of Nursing Research, 6(4), 186-199.

Sheerin, C. M., Lind, M. J., Brown, E. A., Gardner, C. O., Kendler, K. S., & Amstadter, A. B. (2017). The impact of resilience and subsequent stressful life events on MDD and GAD. Depression and Anxiety, 35(2), 140–147. doi:10.1002/da.22700

Strecher, V. J., McEvoy D. B., Becker, M. H., & Rosenstock, I. M. (1986). The role of self-efficacy in achieving health behavior change. Health Education Quarterly, 13(1), 73–92. https://doi.org/10.1177/109019818601300108

World Health Organization. (2017). Depression and other common mental disorders. Retrieved September 12, 2019, http://app.who.int/iris/bitstream/handle/10665/254610/WHO-MSD-MER-2017

Yao, K., Yu, S.Y., Cheng, S., & Chen, I. (2008). Relationships between personal, depression and social network factors and sleep quality in community-dwelling older adults. The Journal of Nursing Research, 16(2), 131-9.