ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความแข็งแกร่งในชีวิต แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความรู้สึกเป็นภาระ เพศ อายุ ความเกี่ยวข้องระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย และระยะเวลาในการดูแล กับภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
วิธีการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคกลาง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 93 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะกดดันด้านจิตใจของ Kessler 6 ข้อ ฉบับภาษาไทย แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของโรคจิตเภท และแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความรู้สึกเป็นภาระ และอายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .617, .632 และ .249; p = .000, .000, และ .016 ตามลำดับ) ความแข็งแกร่งในชีวิต และแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะกดดันด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -.294 และ -.496; p = .004 และ.000 ตามลำดับ) เพศ และความเกี่ยวข้องระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับภาวะกดดันด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.222 และ -.246; p = .032 และ .018 ตามลำดับ) ส่วนระยะเวลาในการดูแล ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
สรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการวางแผนให้การดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเพื่อลดภาวะกดดันด้านจิตใจจากการดูแลผู้ป่วยจิตเภทต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กรมสุขภาพจิต. (2561). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวชประจำปีงบประมาณ 2560. เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2562, จาก http://www.dmh.go.th/report/datacenter/map/
เขมณัฏฐ์ ศรีพรหมภัทร์, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และโสภิณ แสงอ่อน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิต ตราบาป ความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้สึกเป็น
ภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1), 103-122.
จิราพร รักการ. (2549). ผลของการใช้โปรแกรม สุขภาพจิตศึกษาต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, รัชนี สรรเสริญ, และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2554). การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(1), 62-75.
ชวนชม วงศ์ไชย. (2546). ภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชนมาภรณ์ พงศ์จันทรเสถียร. (2549). ปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐ์กฤตา เชาวน์วรารักษ์ และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2559). ประสบการณ์ของผู้ดูแลวัยสูงอายุในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(1), 110-122.
ตวงรัตน์ แซ่เตียว. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทาง
สังคม การดูแลตนเอง ด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาภรณ์ พึ่งเกศสุนทร และอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554) ผลของโปรแกรม บำบัดครอบครัวต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(2), 51-63.
นัทธมนต์ ฉิมสุข และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2557). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะความกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(3), 49-62.
บุญวดี เพชรรัตน์ และเยาวนาถ สุวลักษณ์. (2546). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิต
เภทเรื้อรังที่บ้าน. สงขลานครินทร์เวชสาร, 21(4), 249-258.
บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ และสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. (2557). ความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของ Kessler 6 ข้อ ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 299-312
ปทานนท์ ขวัญสนิท และมานิต ศรีสุรภานนท์. (2561). ตัววัดทางระบาดวิทยาเพื่อคำนวณภาระโรคจิตเภท
ในประเทศไทย.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(1), 50-62.
พัชรินทร์ นินทจันทร์. (บรรณาธิการ). (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน การประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน และทัศนา ทวีคูณ. (2555). โปรแกรมการเสริมสร้าง ความแข็งแกร่งในชีวิต (A Resilience Enhancing Program). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
พิเชษฐ์ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (บรรณาธิการ). (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์ภัทรอําไพ พิพัฒนานนท์. (2544). รูปแบบการทำนายภาระของผู้ดูแล: การทดสอบเชิงประจักษ์ใน ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัชนีกร อุปเสน. (2541). การศึกษาบทบาทและภาระของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนทรีภรณ์ ทองไสย. (2558). การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล,42(3), 159-167.
เอมิกา กลยนี, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2558). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(1), 128-140.
เอื้ออารีย์ สาริกา. (2543). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
Angermeyer, M. C., Kilian, R., Wilms, H. U., & Wittmund, B. (2006). Quality of life of spouses of mentally ill people. International Journal of Social Psychiatry, 52(3), 278 - 285. doi:10.1177/0020764006067186
American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). Arlington, VA: American Psychiatric.
Barbato, A. (1998). Schizophrenia and public health. Retrieved November 24, 2017, from https://www.who.int/mental_health/media/en/55.pdf
Bickersteth, T. F., & Akinnawo, E. O. (1990). Filial responsibility expectations of Nigerian and Indian university students. Journal of Cross-Cultural Gerontology, 5(4), 315 - 332. doi:10.1007/bf00057643
Chen, X., Mao, Y., Kong, L., Li, G., Xin, M., Lou, F., et al. (2016). Resilience moderates the association between stigma and psychological distress among family caregivers of patients with schizophrenia. Personality and Individual Differences, 96, 78 - 82. doi:10.1016/j.paid.2016.02.062
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Dagaonkar, A. A., Jadhav, B. S., Shanker, S., Shah, B. R., Rajagopal, L., & Gopinathan, A. (2013). Perception of burden by caregivers of patients with schizophrenia. Andhra Pradesh Journal of Psychological Medicine, 14(2), 141 - 145.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41,1149 - 1160.
Global Burden of Disease and Injury Incidence and Prevalence Collaborators. (2017). Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 328 diseases and injuries for 195 countries, 1990–2016: A systematic analysis for the Global burden of Disease Study 2016. The Lancet, 390(10100), 1211 - 1259. doi: https://doi.org/10.1016/S0140-6736(17)32154-2
Grotberg, E. H. (1995). A guide for promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. Retrieved June 03, 2017, from http://www.bernardvanleer. org/A_guide_to_promoting_resilience.
Grotberg, E. H. (1997). The international resilience project: Findings from the research and the effectiveness of interventions. Retrieved November 24, 2017, from http://resilnet.uiuc.edu/library/grotb97a.html
House, J. S. (1980). Work stress and social support. Retrieved January 26, 2018, from https://babel.hathitrust.org/cgi/pt?id=mdp.39015071886035;view=1up;seq=5
House, J. S. (1987). Social support and social structure. Sociological Forum, 2(1), 135 - 146. doi:10.1007/bf01107897
House, J. S., Umberson, D., & Landis, K. R. (1988). Structures and processes of social support. Annual Review of Sociology, 14(1), 293 - 318. doi:10.1146/annurev.so.14.080188.
Isaacs, B., & Kennie, A. T. (1973). The set test as an aid to the detection of dementia in old people. The British Journal of Psychiatry, 123(575), 467 - 470. doi:10.1192/bjp.123.4.467
Kessler, R. C., Andrews, G., Colpe, L. J., Hiripi, E., Mroczek, D. K., Normand, S. L., et al., (2002). Short screening scales to monitor population prevalence and trends in non-specific psychological distress. Psychological Medicine, 32, 959 - 976. doi:10.1017/s0033291702006074
Kessler, R. C., Green, J. G., Gruber, M. J., Sampson, N. A., Bromet, E., Cuitan, M., et al. (2010). Screening for serious mental illness in the general population with the K6 screening scale: Results from the who world mental health survey initiative. International Journal of Methods in Psychiatric Research, 19(1), 4 - 22. doi:10.1002/mpr.310
Kulhara, P., Kate, N., Grover, S., & Nehra, R. (2012). Positive aspects of caregiving in schizophrenia: A review. World Journal of Psychiatry, 2(3), 43 - 48. doi:10.5498/wjp. v2. i3.43
Lasebikan, V. O., & Ayinde, O. O. (2013). Family burden in caregivers of schizophrenia patients: Prevalence and socio-demographic correlates. Indian Journal of Psychological Medicine, 35(1), 60 - 66. doi:10.4103/0253-7176.112205
Lee, T. C., Yang, Y. K., Chen, P. S., Hung, N. C., Lin, S. H., Chang, F. L., et al. (2006). Different dimensions of social support for the caregivers of patients with schizophrenia: Main effect and stress-buffering models. Psychiatry and Clinical Neurosciences, 60(5), 546 - 550. doi:10.1111/j.1440-1819.2006. 01556.x
Lueboonthavatchai, P., & Lueboonthavatchai, O. (2006). Quality of life and correlated health status and social support of schizophrenic patients' caregivers. Journal of the Medical Association of Thailand, 89(3), 13 - 19.
Magana, S. M., Ramirez Garcia, J. I., Hernandez, M. G., & Cortez, R. (2007). Psychological distress among latino family caregivers of adults with schizophrenia: The roles of burden and stigma. Psychiatric Services, 58(3), 378 - 384. doi: 10.1176/appi.ps.58.3.378
Mathew, K. J., Pathak, A., Rai, S., & Sangeeta, S. J. (2016). Risk of psychological distress among individuals living with a mentally ill person: A study from a Backward State of India and its implications. Retrieved March 9, 2019, from: http://www.ojhas.org/issue60/2016-4-6.html
McDonell, M. G., Short, R. A., Berry, C. M., & Dyck, D. G. (2003). Burden in schizophrenia caregivers: Impact of family psychoeducation and awareness of patient suicidality. Family Process, 42(1), 91 - 103. doi: 10.1111/j.1545-5300.2003. 00091.x
Mitsonis, C., Voussoura, E., Dimopoulos, N., Psarra, V., Kararizou, E., Latzouraki, E., et al. (2012). Factors associated with caregiver psychological distress in chronic schizophrenia. Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology, 47(2), 331 - 337. doi:10.1007/s00127-010-0325-9
Ong, H. L., Vaingankar, J. A., Abdin, E., Sambasivam, R., Fauziana, R., Tan, M. E., et al. (2018). Resilience and burden in caregivers of older adults: Moderating and mediating effects of perceived social support. BioMed Central Public Health, 18(1), 1 - 9. doi:10.1186/s12888-018-1616-z
Oshodi, Y. O., Adeyemi, J. D., Aina, O. F., Suleiman, T. F., Erinfolami, A. R., & Umeh, C. (2012). Burden and psychological effects: caregiver experiences in a psychiatric outpatient unit in Lagos, Nigeria. African Journal of Psychiatry, 15(2), 99 - 105. doi:10.4314/ajpsy. v15i2.13
Overall, J. E., & Gorham, D. R. (1962). The brief psychiatric rating scale. Psychological Reports, 10, 799 - 812. doi:10.2466/PR0.10.3.799-812.
Rafiyah, I., Suttharangsee, W., & Sangchan, H. (2011). Social support and coping of Indonesian family caregivers caring for persons with schizophrenia. Nurse Media Journal of Nursing, 1(2), 159 - 168. doi:10.14710/nmjn. v1i2.979
Rodrigo, M. J., Alquezar, B., Alos, E., Medina, V., Carmona, L., Bruno, M., et al. (2013). A novel carotenoid cleavage activity involved in the biosynthesis of citrus fruit-specific apocarotenoid pigments. Journal of Experimental Botany, 64(14), 4461 - 4478. doi:10.1093/jxb/ert260
Sharma, N., Chakrabarti, S., & Grover, S. (2016). Gender differences in caregiving among family caregivers of people with mental illnesses. World Journal of Psychiatry, 6(1), 7 - 17. doi:10.5498/wjp. v6. i1.7
Singh, M., &Sousa, A. D. (2011). Factors affecting depression in caregivers of patients with schizophrenia. Journal of Mental Health and Human Behaviour, 16(2), 24 - 34.
Souza, A. L. R., Guimarães, R. A., Araújo, V. D., Assis, R. M., Almeida, C. O. L. M., Souza, M. R., et al. (2017). Factors associated with the burden of family caregivers of patients with mental disorders: A cross-sectional study. BioMed Central Psychiatry, 17(1), 353. doi:10.1186/s12888-017-1501-1
Talwar, P., & Matheiken, S. T. (2010). Caregivers in schizophrenia: A cross cultural perspective. Indian
Journal of Psychological Medicine, 32(1), 29 - 33. doi:10.4103/0253-7176.70526
Ukpong, D. I. (2006). Demographic factors and clinical correlates of burden and distress in relatives of service users experiencing schizophrenia: A study from south western Nigeria. International Journal of Mental Health Nursing, 15(1), 54 - 59. doi:10.1111/j.1447-0349.2006. 00403.x
World Health Organization. (2019). Schizophrenia. Retrieved January 03, 2017, from http://www.who.int/mental_health/management/schizophrenia/en/
Yazici, E., Karabulut, Ü., Yildiz, M., Tekes, S. B., Inan, E., Çakir, U., et al. (2016). Burden on caregivers of patients with schizophrenia and related factors. Noropsikiyatri Arsivi-archives of Neuropsychiatry, 53(2). 96 - 101. doi:10.5152/npa.2015.9963
Yin, Y., Zhang, W., Hu, Z., Jia, F., Li, Y., Xu, H., et al. (2014). Experiences of stigma and discrimination among caregivers of persons with schizophrenia in China: A field survey. Public Library of Science One, 9(9). 1 - 11. doi: 10.1371/journal.pone.0108527
Yusuf, A. J., & Nuhu, F. T. (2011). Factors associated with emotional distress among caregivers of patients with schizophrenia in Katsina, Nigeria. Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology, 46(1), 11 - 16. doi:10.1007/s00127-009-0166-6
Zarit, S. H., Reever, K. E., & Peterson, J. B. (1980). Relatives of the impaired elderly: Correlates of feelings of burden. Gerontologist, 20(6), 649 - 655. doi:10.1093/geront/20.6.649
Zarit, S. H., & Zarit, J. M. (1990). The Memory and Behavior Problems Checklist and the Burden Interview. University Park, PA: Pennsylvania State University, Gerontology Center.
Zhai, J., Guo, X., Chen, M., Zhao, J., & Su, Z. (2013). An investigation of economic costs of schizophrenia in two areas of China. International Journal of Mental Health Systems, 7(26), 1 - 8. doi:10.1186/1752-4458-7-26