ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

เกษร สายธนู
อมรรัตน์ นธะสนธิ์
เกษราภรณ์ เคนบุปผา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: วิจัยเชิงพรรณนาแบบหา ความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตโดยรวม และองค์ประกอบย่อยกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 270 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบ ประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต และ 3) แบบวัด ความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน


ผลการศึกษา: 1) คะแนนเฉลี่ยความ แข็งแกร่งในชีวิตอยู่ระหว่าง 88 - 140 คะแนน 2) กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 8.90 มีภาวะซึมเศร้า 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความแข็งแกร่ง ในชีวิตโดยรวมกับคะแนนภาวะซึมเศร้าพบว่า มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .01 (r = -.204, p < .01) และ 4) ความสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนความแข็งแกร่งในชีวิตจำแนก แต่ละองค์ประกอบ (ฉันมี ฉันเป็น ฉันสามารถ) กับภาวะซึมเศร้าพบว่า ฉันมีและฉันสามารถ มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.219 และ r = -.188, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนฉันเป็นมีความสัมพันธ์ ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (r = -.154, p < .05)


สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ความแข็งแกร่งในชีวิตและภาวะ ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ดังนั้นควรเสริมสร้างความ แข็งแกร่งในชีวิตแก่ผู้สูงอายุเพื่อลดหรือป้องกัน การเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2557). แนวทางการดูแลเฝ้าระวัง โรคซึมเศร้าระดับจังหวัด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3/2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, พรทิพย์ ควรคิด, สมบัติ ตรีประเสริฐสุข, ภรเอก มนัสวานิช, ไอศวรรย์ เพชรต่อเหลียน และไพโรจน์ ฉัตรานุกุลชัย. (2561). ตำราเวชศาสตร์ผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

ฉัตรฤดี ภาระญาติ, วารี กังใจ, และสิริลักษณ์ โสมานุสรณ์. (2559). ปัจจัยทำนายพลัง สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารคณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 97-106.

ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์. (2559). คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: สูตรคลายซึมเศร้า. นนทบุรี: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2559). ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิต สำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 24-38.

นิพนธ์ พวงวรินทร์, อรพรรณ ทองแตง, ประเสริฐ อัสสันตชัย, รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐ์สุวรรณ, วรพรรณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, และคณะ. (2537). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย. สารศิริราช, 46(1), 1-9.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ปะราลี โอภาสนันท์. (2559). การพยาบาลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). พะเยา: โรงพิมพ์ดาวเหนือ.

ปุณิกา กิตติกุลธนันท์, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และ โสภิณ แสงอ่อน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างเพศการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันความแข็งแกร่งในชีวิตและการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(2), 137-155.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ ใช้. กรุงเทพมหานคร: จุดทอง.

มุกข์ดา ผดุงยาม และอัญชลี ช. ดูวอล. (2561). กลยุทธ์ การฟื้นฟูพลังสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ .วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 66-73.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สงวน ธานี, รวีวรรณ เผ่ากัณหา, สุฬดี กิตติวรเวช, และสมจิตต์ ลุประสงค์. (2559). สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตความต้องการการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่เน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในเขตอีสานใต้. รายงานการวิจัย. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สายพิณ ยอดกุล และจิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. (2555). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรง พยาบาลบุรีรัมย์. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(3), 50-57.

สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2558). ตำราโรคซึมเศร้า. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และทัศนา ทวีคูณ. (2561). ความแข็งแกร่งในชีวิตและ ภาวะซึมเศร้าของประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 27(2), 107-112.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อรุณลักษณ์ คงไพศาลโสภณ และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของ ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(2), 127-142.

Boyd, M. A. (2015). Psychiatric Nursing: Contem¬porary Practice. (5th ed.) Comprehensive DSM-5 Update. Philadelphia: Lippincott William & Wilkins.

Chang-Quan, H., Bi-Rong, D., Zhen-Chan, L., Ji-Rong, Y., & Qing-Xiu, L. (2010). Chronic diseases and risk for depression in old: A meta- analysis of published literature. Ageing Research Reviews, 9, 131-141.

Jeste, D. V., Savla, G. N., Thompson, W. K., Vahia, I. V., Glorioso, D. K., Martin, A.S. et al. (2013). Older age is associated with more successful aging: Role of resilience and depression. The American Journal of Psychiatry, 170(2), 188-196.

MacLeod, S., Musich, S., Hawkins, K., Alsgaard, K.& Wicker, E. R. (2016). The impact of resilience among older adults. Geriatric Nursing, 37, 266-272.

Moussavi, S., Chatterji, S., Verdes, E., Tandon, A., Patel, V., & Ustun, B. (2007). Depression, chronic disease, and decrements in health: results from the World Health Surveys. Lancet, 8(370), 851-858.

Tkatch, R., Musich, S., MacLeod, S., Kraemer, S., Hawkins, K., Wicker, E. R. & Armstrong, D. G. (2017). A qualitative study to examine older adults’ perceptions of health: Keys to aging successfully. Geriatric Nursing, 38, 485-490.

Touhy, T. A., Jett, K. F., & Ebersole, P. (2014). Ebersole and Hess’ gerontological nursing & healthy aging (4th ed). St. Louis, Mo.: Elsevier/Mosby.

Wagnlid, G. M. (2003). Resilience and successful aging: Comparison among low and high income older adults. Journal of Geronto¬logical Nursing, 1, 42-47.

Wells, M. (2010). Resilience in older adults living in rural, suburban, and urban areas. Journal of Rural Nursing and Health Care, 10(2), 45-54.

World Health Organization. (2017). Mental health of older adults. Retrieved July 24, 2019, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults

Yu, J., Li, J., Cuijpers, P., Wu, S., & Wu, Z. (2012). Prevalence and correlates of depressive symptoms in Chinese older adults: A population-based study. International Journal of Gerontological Nursing, 27, 305-312.