ผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีน

Main Article Content

อณิมา จันทรแสน
เพ็ญพักตร์ อุทิศ
สุนิศา สุขตระกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรุนแรงของอาการทางจิตใน ผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีนก่อนและ หลังการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว และ 2) เปรียบเทียบความรุนแรงของอาการทางจิตใน ผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีน ระหว่างกลุ่ม ที่ได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวกับกลุ่ม ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภท ที่ใช้สารแอมเฟตามีนและครอบครัว ซึ่งมีคุณสมบัติ ตามเกณฑ์จำนวน 40 คน ผู้ป่วยจิตเภทได้รับการจับคู่ ด้วยคะแนนความรุนแรงของอาการทางจิต แล้วถูก สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการให้ สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรม 9 กิจกรรม ได้แก่ การสร้าง สัมพันธภาพกับผู้ป่วย ผู้ดูแล และสมาชิกใน ครอบครัว การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคร่วมจิตเภท และการใช้สารแอมเฟตามีน การให้ความรู้เรื่อง การรักษาด้วยยาและการฝึกทักษะจัดยาด้วยตนเอง การพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในครอบครัว การ พัฒนาทักษะการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม ภายในครอบครัว การให้ความรู้และพัฒนาทักษะ เรื่องอาการเตือน การป้องกันอาการกำเริบและการ จัดการกับอาการกำเริบ การพัฒนาทักษะการเผชิญ ความเครียด เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด และกิจกรรมก่อนการจำหน่ายและการติดตามหลัง จำหน่าย 2) แบบวัดความรุนแรงของอาการทางจิต PANSS-T 3) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย จิตเภทของญาติ และ 4) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับ โรคจิตเภทของผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือชุดที่ 3 และ 4 มีค่าความเที่ยง (KR-20) เท่ากับ .95 และ .94 ตามลำดับ


ผลการศึกษา: 1) ความรุนแรงของอาการ ทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีนหลัง การให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่ำกว่าก่อนการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง ความรุนแรง ของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สาร แอมเฟตามีนหลังได้รับสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2555). จำนวนผู้ป่วยจิตเวชจำแนกตามกลุ่มโรค. ในรายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2555. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ทานตะวัน แย้มบุญเรือง. (2540). ผลของการใช้โปรแกรมก่อนจำหน่ายของผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ, มานิต ศรีสุรภานนท์, และสเปญ อุ่นอนงค์. (2550). Positive and Negative Syndrome Scale ฉบับภาษาไทย (PANSS-T) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: แจนเซ่น-ซีแลก.

เพชรี คันธสายบัว. (2553). โปรแกรมบำบัดทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคร่วมจิตเวชและยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.

มาลี แจ่มพงษ์, ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, บุญชัย นวมงคลวัฒนา. (2551). ทัศนคติประชาชนไทยต่อผู้ป่วยทางจิต. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา, 19, 18.
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. (2542). คู่มือปฏิบัติงาน: การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านสำหรับผู้ปฏิบัติงาน. สุราษฎ์ธานี: โรงพิมพ์สุวรรณอักษร.

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. (2556). สารสนเทศสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.

สมภพ เรืองตระกูล. (2557). คู่มือจิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้ว การพิมพ์.

Barbee, J. G., Clark, P. D., Carpazano, M. S., Heintz, G. C., & Kehoe, C. E. (1989). Alcohol and substance abuse among schizophrenic patients presenting to an emergency psychiatric service. Journal of Nervous and Mental Disease, 177, 400-407.

Dixon, L.B., Stewart, B., Burland., J., Delahanty, J., Lucksted, A., & Hoffman, M., (2001). Pilot study of the effectiveness of the Family-to- Family Education Program. Psychiatric Services, 52, 965-967.

Francell, G. C. (1998). Family perception of burden of care for chronic mentally ill relative. Hospital and Community Psychiatric, 39(12), 1296 - 1300.

Kavanagh, D. J., Waghorn, G., Jenner, L., Chant, D.C., Carr, V., Evans, M., et al. (2004). Demographic and clinical correlates of comorbid substance use disorders in psychosis: multivariate analyses from an epidemiological sample. Schizophrenia Research, 66, 115-124.

Kay, S. R., Fiszbein, A., & Opler, L. A. (1987). The Positive and Negative Syndrome Scale (PANSS) for Schizophrenia. Schizophrenia Bulletin,13, 261-276.

Lieberman, J., Sheiman, B. B., & Kinon, B. J. (1997). Neurochemical sensitization in the pathophysiology of schizophrenia: deficits and dysfunction in neuronal regulation and plasticity. Neuropsychopharmacology, 7, 205-229.

Lincoln, T. M., Wilhelm, K., & Nestoriuc, Y. (2007). Effectiveness of psychoeducation for relapse, symptoms, knowledge, adherence and functioning in psychotic disorders: A meta-analysis. Schizophrenia Research, 96, 232-245.

Mueser, K. T., Glynn, S. M., Cather, C., Zarate, R., Fox, L., Feldman, J., et al. (2009). Family intervention for co-occurring substance use and severe psychiatric disorders: participant characteristics and correlates of initial engagement and more extended exposure in a randomized controlled trial. Addictive Behaviors, 34(10), 867 - 877.

Mueser, K. T., Glynn, S. M., Cather, C., Xie, H., Zarate, R., Smith, L. F., et al. (2012). A randomized controlled trial of family intervention for co-occurring substance use and severe psychiatric disorders. Schizophrenia Bulletin, 39(3), 658-672.

Mueser, K. T., Yarnold, P. R., Levinson, D. F., Singh, H., Bellack, A. S., Kee, K., et al. (1990). Prevalence of substance abuse in schizophre¬nia: Demographic and clinical correlates. Schizophrenia Bull, 16(1), 31-35.

O’Farrell, T. J., & Fals-Stewart, W. (2000). Behavioral couples therapy for alcoholism and drug abuse. Journal of substance abuse Treatment, 18, 51-54

Talamo, A., Centorrino, F., Tondo, L., Dimitri, A., Hennen, J., & Baldessarini, R. J. (2006). Comorbidity substance-use in schizophrenia: Relation to positive and negative symptoms. Schizophrenia Research, 86, 251-255.

Sharif, F., Shygan, M., & Mani, A. (2012). Effect of psycho-educational intervention for family members on caregiver burdens and psychiatric symptoms in patient with schizophrenia in Shiraz, Iran. BMC Psychiatric, 12, 1-9.

World Health Organization. (2013). Schizophrenia. Retrieved January 4, 2014, from http:// www.who.int/topics/ schizophrenia/en/