การปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้าสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางจิต

Main Article Content

ศิริพร เพ็งเจริญ
จินตนา ยูนิพันธุ์
สุนิศา สุขตระกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2555 - 2565) สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางจิต

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาชีพผู้มีความเชี่ยวชาญและกลุ่มผู้รับบริการที่มีประสบการณ์ในการบำบัดดูแลเด็กที่มีปัญหาทางจิตในชุมชน จำนวนรวม 26 คน ทำการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด และแบบบอกต่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น รอบแรกเป็น แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างปลายเปิด และการสัมภาษณ์เชิงลึก รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 150 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการศึกษา: การปฏิบัติการพยาบาลกับเด็กที่มีปัญหาทางจิตในชุมชนของพยาบาลที่มีสมรรถนะต่างกันจะให้การดูแลเด็กในเรื่องที่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎี การพยาบาลของนิวแมนแล้วสามารถสรุปได้ว่าการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้า สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางจิต แบ่งเป็นการป้องกัน 3 ระดับ คือ 1) การป้องกันระดับปฐมภูมิ เป็นการปฏิบัติการพยาบาลแก่เด็กที่เสี่ยงต่อปัญหาทางจิต 2) การป้องกันระดับทุติภูมิ เป็นการปฏิบัติการพยาบาลแก่เด็กที่มีปัญหาทางจิต ได้แก่ กลุ่มที่มี ปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรมและเด็กที่ป่วยทางจิตระยะที่มีอาการและปัญหาเฉียบพลัน และ 3) การป้องกันระดับตติยภูมิ เป็นการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพเด็กภายหลังได้รับ การบำบัดและมีอาการและปัญหาเรื้อรัง

สรุป: การปฏิบัติการพยาบาลแก่เด็กที่มีปัญหาทางจิตในทศวรรษหน้าจำเป็นต้องมีพยาบาลที่เชี่ยวชาญเฉพาะในการดูแลเด็กแต่ละกลุ่ม

 

Objective: To  study  the  desirable community psychiatric and mental health nursing practice for children with mental health problems in the next decade (2012 – 2022).

Methods: This descriptive research applied the Ethnographic Delphi Futures Research technique. The informants were 26 experts, professional and client groups, who had experienced in caring of the children with mental health problems in community, from a combination of  purposive  and  snowball sampling. The study instrument in the 1st round comprised  of  opened end  questionnaires  and in-depth  interviewed,  developed  by  the researcher, the 2nd and 3rd round were rating scales  questionnaires  for  level  of agreement elicited from 26 experts. Data were collected 3 rounds by the researcher within 150 days, and analyzed by median and interquartile range.

Results:These nursing practice could be classified according to Neuman’s Nursing Theory, into 3 levels; 1) primary prevention referred to nursing practice for children at risk of  mental  health  problems,  2)  secondary prevention  referred  to  nursing  practice  for children  with  mental  health  problems  having acute  psychotic  symptoms  and  receiving maximum care, and 3) tertiary prevention referred  to  nursing  practice  for  children  with mental  health  problems  during  chronic  stage and receiving rehabilitative care.

Conclusions: The  desirable  psychiatric and mental health nursing practice for children with mental health problems in the next decade should be carried out by professional nurse and nurses with specialization in child psychiatric nursing.

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิริพร เพ็งเจริญ, โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

จินตนา ยูนิพันธุ์, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุนิศา สุขตระกูล, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย