การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีภาวะฆ่าตัวตายโรงพยาบาลสวนสราญรมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีภาวะฆ่าตัวตายโรงพยาบาลสวนสราญรมย์
วิธีการศึกษา: แนวปฏิบัติการพยาบาลถูกพัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรม และ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วยวิธีการแบบเดลฟาย โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการสอนหรือการปฏิบัติการพยาบาลด้านการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีภาวะฆ่าตัวตาย จำนวน 17 คน วิเคราะห์ความสอดคล้องของความคิดเห็นด้วย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าการกระจายควอไทล์ ซึ่งผู้วิจัยใช้ค่ามัธยฐานมากกว่า 3.50 ค่าฐานนิยมที่ระดับมากถึงมากที่สุด (4.00 - 5.00) และค่าการกระจายควอไทล์น้อยกว่า 1.50 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับข้อความของแนวปฏิบัติ
ผลการศึกษา: ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีภาวะฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ (1) คำนิยาม และ โครงสร้างของแนวปฏิบัติ (2) การประเมินปัญหาผู้ป่วยระยะเริ่มแรก ระยะกลาง และระยะก่อนกลับบ้าน (3) กิจกรรมการพยาบาลระยะเริ่มแรก ระยะกลาง และระยะก่อนกลับบ้าน และ (4) ผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ มีภาวะฆ่าตัวตายระยะเริ่มแรก ระยะกลาง และระยะก่อนกลับบ้าน
สรุป: แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีภาวะฆ่าตัวตายนี้ควรนำไปทดลองใช้ในหน่วยงานของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้แนวปฏิบัติฯ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีภาวะฆ่าตัวตายให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
Objective: To develop the clinical nursing practice guideline (CNPG) in caring for schizophrenia with suicide patients at Saunsaranrom Hospital.
Methods: This CNPG was developed from literature reviews. The content validity was examined by 17 experts experienced in teaching or in caring for schizophrenia with suicide patients, using a 3-round Delphi technique. The consensus of contents was analyzed by median, mode and quartile deviation. The researcher considered a median of more than 3.50, a mode ranging from very often to most of the time (4.00-5.00), and a quartile deviation of less than 1.50 as criteria for qualification of the CNPG.
Results: Revealed 4 components of CNPG: (1) definition and structure of CNPG, (2) assessment of patients’ problems including initial, interim and pre-discharge phases, (3) nursing intervention covering all 3 phases, and (4) outcome of caring in those three phases.
Conclusion: This study provided CNPG that should be tested for feasibility before using it as a tool for quality improvement in caring for schizophrenia with suicide patients.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย