ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท

Main Article Content

พรทิพย์ ไขสะอาด
เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียด 2) เพื่อเปรียบเทียบอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการรักษาในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน ซึ่งได้รับการจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลอง  ได้รับการ ดูแลตามโปรแกรมการจัดการความเครียดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม 6 ครั้ง ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องความเครียดและฝึกทักษะการผ่อนคลาย การเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย การจัดการความเครียดที่เกิดจากการรับประทานยา การจัดการกับอาการทางจิต การแก้ไขปัญหาใน ชีวิตประจำวัน และการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการจัดการความเครียด 2) แบบประเมินอาการทางจิต Positive and Negative Syndrome Scale และ 3) แบบประเมินทักษะการจัดการความเครียด ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และเครื่องมือ 2 ชุดหลัง มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคเท่ากับ .82 และ .78 ตามลำดับ

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. อาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Objectives: 1) to compare the psychotic symptoms of schizophrenic patients before and after receiving the stress management program, and 2) to compare the psychotic symptoms of schizophrenic patients who received stress management  program  and  those  who  received routine nursing care.

Methods: This  study  was  a  quasiexperimental research using the pretest-posttest design. Forty schizophrenic patients receiving service at outpatients department, Ramathibodi Hospital, who met the inclusion criteria, were matched  pair  and  then  randomly  assigned  to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received  the  stress  management  program composed of 6 group activities to improve relevant skills including relaxation, physical strength, symptoms and medication management, life problem management, and communication.The  control  group  received  routine  nursing care. Research instruments were: 1) the stress management program, 2) The Positive and Negative Syndrome Scale, and 3) The Stress management skill scale. The  instruments  were tested for content validity by 5 professional experts. The Chronbach’s Alpha coefficient reliability of the two latter instruments was .82 and  .78,  respectively. The t-test was  used in data analysis.

Results: Major findings were as follows: 1. The psychotic symptoms of schizophrenic patients  who  received  the  stress  management program  were  significantly  less  than  before,  at the .05 level. 2. The psychotic symptoms of schizophrenic patients  who  received  the  stress  management program were significantly less than those who receive routine nursing care, at the .05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พรทิพย์ ไขสะอาด, งานการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต โรงพยาบาลรามาธิบดี

พยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต โรงพยาบาลรามาธิบดี

เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย