การศึกษาการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทชาย

Main Article Content

ปริศนา เฉลิมฤกษ์
โสรยา ศุภโรจนี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทชายที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยคัดเลือกจากประชากรแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับการดูแลตามปกติ  เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ  แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำ และแบบประเมินแหล่งพลังอำนาจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน และเครื่องมือสองชุดหลัง มีค่า ความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติทดสอบค่าที

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.พฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทชายหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2.พฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทชาย กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Objective: The purposes of this quasiexperimental research were to compare the  relapse preventive behaviors in male schizophrenic patients before and after receiving  the  empowerment program, and to compare the relapse preventive behaviors in male schizophrenic patients who received the empowerment program and those who received routine care.

Methods: Sixty male schizophrenic patients receiving services in inpatient (Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry) who met the inclusion criteria were matched pair  and  then randomly assigned to experimental group and control group, 30 subjects in each group. The experimental group received the empowerment program developed by the  researcher. The control group received regular caring activities. Research  instruments  consisted of the empowerment program, relapse preventive behaviors questionnaire  and source of power questionnaire. These instruments were validated for content validity by 3 professional experts. The Chronbach’s alpha coefficients reliability of the two latter instrument was .83 and .88, respectively. The t-test was used in data analysis.

Results: Major findings of this study were as follows: 1. The relapse preventive behaviors in male schizophrenic patients who received the empowerment program was significantly higher than that before, at the .05 level. 2. The relapse preventive behaviors of male schizophrenic patients who received the empowerment program was significantly higher than those who received regular caring, at the .05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปริศนา เฉลิมฤกษ์, สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

โสรยา ศุภโรจนี, สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา