ผลของกลุ่มสนับสนุนครอบครัวต่อการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลใน ครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ก่อนและหลังการทดลองและระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีธัญญา ผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัว เลือกแบบเฉพาะ เจาะจง จำนวน 24 ครอบครัว แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มสนับสนุนครอบครัว ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมกลุ่มสนับสนุนครอบครัว และแบบประเมินการทำหน้าที่ของครอบครัว (CFI) มีค่าความเที่ยง จากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที
ผลการศึกษา: 1) การทำหน้าที่ของตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับ โปรแกรมกลุ่มสนับสนุนครอบครัวดีกว่าก่อนได้ รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม กลุ่มสนับสนุนครอบครัวดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Objective: To compare the family functioning as perceived by family caregivers of schizophrenic patients before and after receiving family mutual support group, and those who received regular caring activities.
Methods: This study was a quasiexperimental research. The 24 families of schizophrenic patients admitted in Srithanya hospital were purposively selected based on the inclusion criteria. These samples were divided into experimental and control group, 12 subjects in each group. The experimental group received family mutual support group program, whereas the control group received regular caring activities. Research instruments were family mutual support group and the family functioning scale (CFI). The reliability of the scale by Chronbach’ s Alpha coefficients was .90. The data were analyzed using t-test.
Results: 1) The family functioning among family caregivers of schizophrenic
patients who received family mutual support group after the experiment was significantly better than before at the .05 level. 2) The family functioning among family caregivers of schizophrenic patients who received family
mutual support group was significantly better than those who received regular caring activities at the .05 level.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย