การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน

Main Article Content

ปริญญา ชะอินวงษ์
สมบัติ สกุลพรรณ์
ดาราวรรณ ต๊ะปินตา

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน


            วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ปีทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มารับบริการคลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 7 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 322 ราย โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และแบบสัมภาษณ์ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน


             ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า


  1. เยาวชนถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ( =1.65, SD=0.67) และการถูกรังแกรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการถูกลบหรือบล็อกจากกลุ่มผ่านโลกไซเบอร์ ( =1.88, SD=0.94) รองลงมา คือ ด้านการถูกนินทา ด่าทอ รวมถึงการพูดคุยโต้ตอบด้วยถ้อยคำที่หยาบคายผ่านโลกไซเบอร์ ( = 1.83, SD = 0.82) และด้านการถูกบุคคลอื่นนำความลับที่เป็นข้อมูลส่วนตัวไปเปิดเผยผ่านโลกไซเบอร์ ( = 1.57, SD = 0.75) ตามลำดับ

  2. กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายร้อยละ 36.30 ในจำนวนนี้ร้อยละ 52.10 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระดับรุนแรง ร้อยละ 10.30 และ 37.60 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระดับปานกลางและระดับน้อย ตามลำดับ และพบว่าเยาวชนที่ถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 39.50 ในจำนวนนี้ร้อยละ 54.20 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับรุนแรง ร้อยละ 10.30 และ 35.50 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับปานกลางและระดับน้อย ตามลำดับ

  3. การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .301, p < .01)

             สรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในเยาวชน ด้วยการลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยมุ่งประเด็นไปที่การจัดการปัญหาการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในเยาวชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพรรณ มณีภาค และอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2562). การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมจากการกระทำผิดในโลกอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษาการรังแกกันในโลกไซเบอร์ในรูปแบบการคุกคามทางเพศในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 1-11.

กนกอร จันยมิตรี และกัญญ์ฐิตา ศรีภา. (2563). แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางสังคมของวัยรุ่นจากการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 26(2), 116-141.

คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพจิต: จำนวนการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชจำแนกรายกลุ่มโรค จำนวน 11 กลุ่มโรค (opdcase) ปี 2560. เข้าถึงเมื่อ 27 ธันวาคม 2561, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/psychiatry.php&cat_id=ea11bc4bbf33b78e6f53a26f7ab6c89&id=b02bd3924d73542ae95aaf39eed10007

จิตติพันธ์ ความคะนึง, และมฤษฎ์ แก้วจินดา. (2559). การปรึกษาแบบกลุ่มด้วยเทคนิคการสร้างความมั่นคงทางจิตใจเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญปัญหาสำหรับเยาวชนที่ถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 40-52.

ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย. (2557). คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองเรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: บริษัท มีเดียโซน พริ้นติ้ง จำกัด.

ชุตินาถ ศักรินทร์กุล และอลิสา วัชรสินธุ. (2557). ความชุกของการข่มเหงรังแกและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในเด็กมัธยมต้นเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 221-230.

ณัฐรัชต์ สาเมาะ, พิมพวัลย์ บุญมงคล, ติโหมะ โอะหยะเน็น, รณภูมิ สามัคคีคารมย์ และโธมัส กวาดามูซ. (2557). การรับรู้ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 6(1), 351-364.

ธันยากร ตุดเกื้อ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในจังหวัด

สงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม, คณะศิลปศาสตร์,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธันยากร ตุดเกื้อ และมาลี สบายยิ่ง. (2560). รูปแบบ ผลกระทบ และวิธีการจัดการเมื่อถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(2), 220-236.

นฤมล เอื้อมณีกูล. (2560). การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น:แนวคิดและการจัดการหลายระดับ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

ปองกมล สุรัตน์. (2553). พฤติกรรมการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ระหว่างวัยรุ่น:กรณีศึกษานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการมนุษย์, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปองกมล สุรัตน์. (2561). สาเหตุและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการรังแกผ่านโลกไซเบอร์: กรณีศึกษาเยาวชนไทยผู้ถูกรังแก. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 260-273.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, ธรณินทร์ กองสุข, กอบโชค จูวงษ์, หทัยชนนีบุญเจริญ, และคณะ. (2550). Mini International Neuropsychiatric Interview Thai version 5.0.0-Revised 2007. เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2561, จาก http://www.skph.go.th/newskph/Doc_file/Miti4_MINIInterview5.0.pdf

รวิพรรดิ พูลลาภ. (2560). ภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย ความเครียด และการจัดการความเครียดของประชาชนในชุมชนน้ำจำและชุมชนบ้านเด่น ตำบลเมืองพานอำเภอเมืองพาน จังหวัดเชียงราย.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 72-85.

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. (2561). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลการฆ่าตัวตายประเทศไทย พ.ศ. 2560. เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561, จาก https://suicide.dmh.go.th/report/

ลักษมี คงลาภ, อัปสร เสถียรทิพย์, สรานนท์ อินทนนท์, และพลินี เสริมสินสิริ. (2561). การจัดทำ Fact Sheetความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

วรพงษ์ วิไล และเสริมศิริ นิลดำ. (2561). พฤติกรรมการรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดเชียงราย: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. วารสารการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 1(2), 1- 24.

วรสิทธิ์ เจริญศิลป์, วาสนา สุปินนะ, จุฑามาส สุขอิ่ม, และศุภชัย นาทองไชย. (2562). การฆ่าตัวตายของนักศึกษากับการปรับตัวของครอบครัว มหาวิทยาลัยและรัฐ: การศึกษาโดยใช้ข่าวในหนังสือพิมพ์เป็นฐาน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(21), 135-147.

วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. (2557). อัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(3), 90-103.

วัฒนาวดี ศรีวัฒนพงศ์ และพิมผกา ธานินพงศ์. (2558). สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนในโรงเรียนเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 1(2), 128-144.

วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์, ศิวพร ปกป้อง, นันทนัช สงศิริ, และปองกมล สุรัตน์. (2552). พฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย.

เสกสัณ เครือคำ. (2558). อาชญากรรม อาชญาวิทยา และงานยุติธรรมทางอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

สุกัญญา รักษ์ขจีกุล. (2556). ภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(4), 359-370.

สุธิดา พลพิพัฒน์พงศ์, นุจรี ไชยมงคล และดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2561). ความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(1), 40-49.

สุพัตรา สุขาวห และสุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. (2558). ปัจจัยกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าตัวตายของวัยรุ่นไทย: มุมมองจากประสบการณ์ของวัยรุ่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 37-55.

สุพัตรา สุขาวห และสุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. (2560). ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น:การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 62(4), 359-378.

อมรทิพย์ อมราภิบาล. (2559). เหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน: ปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบต่อ

สุขภาพจิตและการปรึกษาบุคคลที่สาม. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 59-73.

Agnew, R. (2001). General Strain Theory Building on the Foundation of General Strain Theory: Specifying the Types of Strain Most Likely to Lead to Crime and Delinquency. E- Journal of Research in Crime and Delinquency, 38(4), 319-361.

Alavi, N., Reshetukha, T., Prost, E., Antoniak, K., Patel C., Sajid, S., et al. (2017). Relationship between Bullying and Suicidal Behaviour in Youth presenting to the Emergency Department. J Can Acad Child Adolesc Psychiatry, 26(2), 70-77.

Amare, T., Woldeyhannes, S. M., Haile, K., & Yeneabat, T. (2018). Prevalence and associated factors of suicide ideation and attempt among adolescent high school students in Dangila Town, Northwest Ethiopia. Psychiatry Journal, 18, 1-9. doi: 0.1155/2018/7631453

Benbenishty, R., Astor, R. A., & Roziner, I. (2018). A school-based multilevel study of adolescent suicide ideation in California high schools. Jounal of pediatrics,196, 251–257.

Brailovskaia, J., Teismanna, T., & Margrafa, J. (2018). Cyberbullying, positive mental health and suicide ideation/behavior. Psychiatry Research, 267, 240-242.

Ferrey, A. E., Hughes, N. D., Simkin, S., Locock, L., Stewart, A., Kapur, N., et al. (2016). The impact of self-harm by young people on parents and families: a qualitative study. BMJ, 6, 1-7.

Hinduja, S., & Patchin, J. W. (2010). Bullying, cyberbullying and suicide. Archives of Suicide Research, 14(3), 206-221. doi: 10.1080/13811118.2010.494133

Ilionsky, G. (2017). Association between cyberbullying and school bullying and suicidality among schoolchildren in Israel, Lithuania and Luxembourg. Master of Medicine, Faculty of Public Health, Medical Academy, Lithuanian University of Health sciences, Kaunas.

Iranzo, B., Buelga, S., Cava, M. J., & Ortega-Barón, J. (2019). Cyberbullying, psychosocial adjustment, and suicidal ideation in adolescence. Psychosocial Intervention. doi: 10.5093/pi2019a5

Kim, H. S., & Kim, H. S. (2008). Risk factors for suicide attempts among Korean adolescents. Child Psychiatry and Human Development, 39(3), 221-235. doi: 10.1007/s10578-007-0083-4

Kowalski, R. M., Giumetti, G. W., Schroeder, A. N., & Lattanner, M. R. (2014). Bullying in the digital age: A critical review and meta-analysis of cyberbullying research among youth. Psychological Bulletin, 140(4), 1073–1137. doi: 10.1037/a0035618

Kowalski, R. M., & Limber, S. P. (2013). Psychological, physical and academic correlates of cyberbullying and traditional bullying. Journal of Adolescent Health, 53(1), 13-20. doi: 10.1016/j.jadohealth. 2012.09.018

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lecrubier, Y., Sheehan, D.V., Weiller, E., Amorim, P., Bonora, I., Sheehan, K. H., et al. (1997). The mini international neuropsychiatric interview (MINI). A short diagnostic structured interview: reliability and validity according to the CIDI. European Psychiatry, 12(5), 224-231.

Merrill, R. M., & Hanson, C. L. (2016). Risk and protective factors associated with being bullied on school property compared with cyberbullied. BMC Public Health, 16(45), 1-10. DOI 10.1186/s12889-016-2833-3

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Philadelphia : Lippincott.

Rungsang, B., Chaimongkol, N., Deoisres, W. & Wongnam,P. (2017). Suicidal ideation among Thai adolescents: An empirical test of a causal model. Pacific Rim Int J Nurs Res, 21(2), 97-107.

Saharrudin, N. F., Ghazali, A. H. A., Samah, A. A., Ahmad, A., & Abdullah, H. (2019). Cyberbullying among Malaysian youth: The case of Selangor. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 9(3), 1060–1070.

Sheehan, D., Janavs, J., Baker, R., Harnett-Sheehan, K., Knapp, M., & Sheehan, M. (2006). MINI Plus: Mini International Neuropsychiatric Interview (Version 1335). เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2561, จากhttp://wiki.case.edu/images/c/c9/2005MINI.pdf

Van Geel, M., Vedder P., & Tanilon J. (2014). Relationship between peer victimization, cyberbullying and suicidein children and adolescents: A meta-analysis. JAMA Pediatrics, 168(5), 435-442. doi:10.1001/jamapediatrics.2013.4143

World Health Organization [WHO]. (2014). Preventing suicide-a global imperative. Retrieved June ‎5, ‎2018, from http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/131056/1/9789241564779_eng.pdf?ua=1

Xiu-Ya, X., Fang-Biao, T., Yu-Hui, W., Chao, X., Xiu-Yu, Q., Jia-Hu, H., et al. (2010). Family factors associated with suicide attempts among Chinese adolescent students: A national cross-sectional survey. Journal of Adolescent Health, 46(6), 592-599. doi: 10.1016/j.jadohealth. 2009.12.006