ผลของโปรแกรมทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ลออ สิงหโชติสุขแพทย์
ศิรินทร์ณา ทัศนียรัตน์
กัลยา แก้วสม
เพชรีย์ กุณาละสิริ
รวินันท์ นุชศิลป์
มนชยา สมจริต
รติมา สิงหโชติสุขแพทย์
สิชล ทองมา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ทักษะชีวิตต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่ การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ต้น จังหวัดเพชรบุรี


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ สองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 60 คน จากโรงเรียนสองแห่งในจังหวัดเพชรบุรี แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดย กลุ่มทดลองจากโรงเรียนในตำบลท่าไม้รวก และ กลุ่มควบคุมจากโรงเรียนในตำบลท่ายาง กลุ่ม ทดลองได้รับโปรแกรมทักษะชีวิตในการป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของ นักเรียน โปรแกรมฯดำเนินการจำนวน 6 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที การจัดกิจกรรม ประกอบด้วย การบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การระดมสมอง การแสดงบทบาทสมมติ และ เกมส์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนวิชาสุขศึกษา ตามหลักสูตรปกติของโรงเรียน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดความตระหนักในตนเอง เกี่ยวกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ 3) แบบวัด ความภูมิใจในตนเองต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ 4) แบบวัดทักษะการ ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกันพฤติกรรม เสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ 5) แบบวัดทักษะ การสื่อสารเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไป สู่การมีเพศสัมพันธ์ และ 6) แบบวัดพฤติกรรม ป้องกันความเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ โปรแกรมฯ และเครื่องมือวิจัยทั้งหมดได้รับการ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือวิจัยลำดับที่ 2 ถึง 6 มีค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .70, .92, .98, .63, และ .65 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติทดสอบค่าที


ผลการศึกษา : พบว่าหลังการทดลอง กลุ่ม ทดลองมีความตระหนักในตนเอง ความภาคภูมิใจ ในตนเอง ทักษะการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทักษะการสื่อสาร และพฤติกรรมการป้องกันความ เสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์สูงกว่าก่อนการ ทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .05 )


สรุป: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการ ประยุกต์โปรแกรมทักษะชีวิตในการป้องกันความ เสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรมี การนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับนักเรียนที่มีระดับการ ศึกษาใกล้เคียงกันต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2553). รายงานการทบทวนสถานการณ์เรื่อง พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น การสร้างเสริม ทักษะชีวิตและการให้คำปรึกษา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). สภาวะการมีบุตรของวัยรุ่นไทย. เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2557, จาก https://dcy. go.th/webnew/uploadchild/cld/download/file_th_20152002 002459_1.pdf

เกษแก้ว เสียงเพราะ. (2550). การวิจัยเชิงปฏิบัติ การเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเรื่อง เพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษา ตอนต้น จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์), สาขาวิชาเอกสุขศึกษา และพฤติกรรมศาสตร์บันฑิตวิทยา, มหาวิทยาลัยมหิดล.

นรลักษณ์ เอื้อกิจ. (2541). ประสิทธิผลของ โปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตต่อ พฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เนตรทราย ปัญญชุณห์, ธราดล เก่งการพานิช, สุปรียา ต้นสกุล และสุพร อภินันทเวช. (2552). การสร้างเสริมทักษะชีวิตเพื่อ ป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิง มัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสุขศึกษา, 32(11), 32-41.

เบญจพร ปัญญายง. (2553). การทบทวนความรู้ : การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ริษา บุนนาค, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ภรณี วัฒนสมบูรณ์ และอาภาพร เผ่าวัฒนา. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรมทักษะ ชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดนครปฐม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 43(1), 80-93.

วันวิสาข์ บัวลอย. (2556). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาและสถานการณ์เสี่ยงที่นำไปสู่การ มีเพศสัมพันธ์ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหา บัณฑิต (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, ทรงยศ พิลาสันต์, อินทิรา ยมาภัย, ชลัญธร โยธาสมุทร, อภิญญา มัตเดช และณัฐจรัส เองมหัสกุล. (2556). สถานการณ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556. นนทบุรี:โครงการประเมินเทคโนโลยีและ นโยบายด้านสุขภาพ.

สุณีรัตน์ ยั่งยืน, อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์, ธิดารัตน์ สมดีและสุวิมล สงกลาง. (2553). ความ ตระหนัก ในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ ปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(4), 420 -427.

อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2552). การป้องกันพฤติกรรม เสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การมีส่วนร่วมของ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ โนเบล ถ.พญาไท

Chirawatkul, S., Sawangchareon, K., Jongu¬domkarn, D., Rujiraprasert, N., Kittipong¬paisarn, W., Rungreongkulkij, S., et al. (2013). Perceptions of male adolescents related to love and sexual relationships. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 58(1), 74-88.

Cohen, J. W. (1998). Analysis of the asymmetri¬cal shortest two-server queueing model. International Journal of Stochastic Analy¬sis, 11(2), 115-162.

Rungrant, S., & Pornnapa, H. (2011). Power in sexual relationship and safe sex behaviors among teenage pregnancies. Naresuan University Journal, 19(1), 1-8.

World Health Organization (WHO). (2010). Adolescent pregnancy: data from recent studies. Retrived April 20, 2014, from: HYPERLINK “http://www.who.int/ making” http://www.who.int/making pregnancy safer/topiccs/adolescentpreg¬nancy/en/print.html

World Health Organization (WHO). (2010). Life skills education for children and adoles¬cences in schools. London: Education Department of Health.