ผลของการจัดการความเครียดแบบกลุ่มต่ออาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มและเพื่อเปรียบเทียบอาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษา ณ งานการพยาบาลจิตเวชผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์จำนวน 24 คน ซึ่งได้รับการจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดการความเครียดแบบกลุ่ม 2) แบบประเมินอาการทางจิตผู้ป่วยจิตเภทฉบับภาษาไทย และ 3) แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบราคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิตินอนพาราเมตริก ได้แก่ Mann Whitney U test and Wilcoxon signed Rank Test
ผลการศึกษา: 1) อาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มต่ำกว่าก่อนได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง อาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
ฐิตินันท์ อ้วนล่ำ, สุนิดา ปรีชาวงษ์, และ รัชนีกร อุปเสน, (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่ออาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 33(3), 56-67.
ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ, สมจิตร หร่องบุตรศรี และผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิจ. (2552). สมาธิบําบัดทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2550) . Positive and negative syndrome scale ฉบับภาษาไทย (PANSS-T). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
บุษกร ศุภอักษร. (2553). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พชรพร ผู้ปฏิเวธ และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2556). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยจิตเภท.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 27(1), 29-44.
พรทิพย์ ไขสะอาด. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช,คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชฐ อุดมพัฒน์ และ สรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์. มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2555). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยาใจ สิทธิมงคล,พวงเพชร เกษรสมุทร,นพพร ว่องสิริมาศ และอทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง. (2559).การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: สแกนอาร์ตการพิมพ์.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดาพร สถิตยุทธการ. (2559). การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง:สถานการณ์และแนวทางป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 1-15.
อรพรรณ ประทุมนันท์. (2557). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดร่วมกับโยคะต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทหญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bak, M., Van der Spil, F., Gunther, N., Radstake, S., Delespau, P., & Van OS, J. (2001). MACS-II: Does coping enchance subjective control over psychotic symtomps. Acta Psychiatric Scandinavica. 103(460-464).
Clark, D. M., Ehlers, A., Hackman, A., McManus, F., Fennell, M.,Louise, N. G., et al. (2006). Cognitive therapy versus exposure and applied relaxation in social phobia: A randomized controlled trial. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 74, 568–578.
Chiesa, A., & Serretti, A. (2010). Mindfulness Based Cognitive Therapy for Psychiatric Disorders: A Systematic Review and Meta-Analysis. Psychiatry Research, 187, 441-453.
http://dx.doi.org/10.1016/j.psychres. 2010.08.011.
Erol, A., Ünal, E. k., Aydin, E.T., & Mete, L. (2009). Predictors of Social Functioning in Schizophrenia. Turkish of Journal of Psychiatry, 20(4), 1-8.
Feng, S., Ten, H., Bengamin, A., Wen, S., Liv, A., Zhou, J., et al. (2007). Social support and posttraumatic stress disorder among flood victims in Hunan, China. NCBI, 17(10), 827-833. doi:10.1016/j.annepidem. 2007.04.002.
Larson, P. J., Carrieri-Kohlman, V., Dodd, M. J., Douglas, M., Faucett, J., Froelicher, E. S., et al. (1994). A model for symptom management. Image Journal of Nursing Scholarship, 26(4), 272 – 276.
Lysaker, H. P., Davis, W. L., Lightfoot, J., Hunter, N., & Stasburger, A. (2005). Association of neurocognition, anxiety, positive and negative Symptoms with coping preference in schizophrenia spectrum disorder. Schizophrenia Research, 80,163-171.
Maratos, A. S., Gold, C., Wang, X., & Crawford, M. J. (2008). Music therapy for depression. Cochran Database of Systematic Reviews, 23(1). doi: 10.1002/14651858.CD004517.
McNally, S. E., & Goldberg, J. O. (1997). Natural cognitive coping strategies in schizophrenia. British Journal of Medical Psychology. 70, 159-167.
Moller M., & Murphy M. (2001). Neuro Biological response and Schizophrenia Psychotic disorder. In: Stuart GW & Lalia. Editors. Principle and practice of Psychiatric Nursing. Louis: Mosby;403-37.
National Institute of Mental Health. (2006). Schizophrenia. [online]. Retrieved February 23, 2019, from http://www.nimh.nih.gov/ publicat/schizoph.cfm.
Norman, R. M. G., Malla, A. K., McLean, T. S., McIntosh, E. M., Neufeld, R. W. J., Voruganti, L. P., et al. (2002). An evaluation of a stress management program for individuals with schizophrenia. Schizophrenia Research, 58(2-3), 293–303.
Ritsner, M. S., & Ratner, Y. (2006). The long - term changes in coping strategies in schizophrenia. The Journal of Nervous and Mental Disease, 194(4), 261-267.
Silva, T. L., Ravindran, L. N., & Ravindran, A. V. (2009). Yoga in the treatment of mood and anxiety disorders: A review. Asian Journal of Psychiatry, 2, 6–16.
Tranulis, C., Goff, D., Henderson, D. C., & Freudenreich, O. (2011). Becoming adherent to antipsychotics: A qualitative study of treatment-experienced schizophrenia patients. Psychiatric Services, ps.psychiatryonline.org. 62(8), 888-892.
Yalom, I. D. (1995). The theory and practice of group phychotherapy (4 th ed.) New York: Basic Books.