ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อสุขภาวะทางจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

Main Article Content

สุดสาคร จำมั่น
นพพร ว่องสิริมาศ
วารีรัตน์ ถาน้อย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อสุขภาวะทางจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi–experimental research) ชนิดสองกลุ่มก่อนการทดลอง  หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่พาผู้ป่วยมารับบริการที่งานพยาบาลผู้ป่วยนอก สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียด กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้สุขภาวะทางจิตใจ และแบบวัดความเครียดสวนปรุง (SPST - 20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาวะทางจิตใจ โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)


ผลการศึกษา: ผลการวิเคราะห์สถิติทดสอบที พบว่าหลังการทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะทางจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 4.42, p < 0.05). และค่าคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะทางจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระยะก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 (t = 4.79, p < .05)


สรุป: โปรแกรมการจัดการความเครียดฯ มีประสิทธิผลในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมแล้วเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ดังนั้น จึงควรจัดโปรแกรมฯ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2555). สถิติผู้ป่วยที่มารับบริการโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต.นนทบุรี: ศูนย์สารสนเทศกองแผนงาน.

กรมสุขภาพจิต. (2557). คู่มือคลายเครียด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.กีรติญา ไทยอู่. (2558). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคจิตเวช.กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ขนิษฐา สุขทอง, เพ็ญพักตร์ อุทิศและรัชนีกร เกิดโชค. (2555). ศึกษาผลของสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มต่อภาระการดูแลและการแสดงออกทางอารมณ์สูงของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(3), 15-27.

ณัฐิยา พรหมบุตร. (2545). สุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนา วงศาโรจน์. (2553). ระดับความเครียดของญาติผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพรัตน์ ไชยชำนิ. (2544). ผลการใช้โปรแกรมการดูแลแบบองค์รวมต่อภาระและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท. ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรมนต์ เหลาสุภาพ. (2557). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดสำหรับญาติผู้ป่วยวิกฤต. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(1), 67-81.

บุปผา ธนิกกุล. (2554). ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ . (2546). การพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพและจิตเวชในศูนย์สุขภาพชุมชนและสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ. นนทบุรี: โรงพยาบาลศรีธัญญา.

พิเชฐ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชวนเมืองการพิมพ์.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

มัลลิกา จันทร์เพ็ญ. (2560). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มยุรี ตานินทร์. (2552). ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลศรีธัญญา.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัชนก ชูพิชัย. (2550). ความผาสุกของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์, สาขาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.

ละเอียด ปานนาค และ สิรินภา จาติเสถียร. (2555). การพัฒนาโปรแกรมการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลด้านการจัดการการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(2), 16-29.

วนรัตน์ สิงใส. (2555). การจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์. (2560). รายงานสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศ.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1), 135-150.

Chien, W. T., Chan, S.W.C., & Morrissey, J. (2007). The perceived burden among Chinese Family caregivers of people with schizophrenia. Journal of Clinical Nursing, 16(6), 1151 -1161.

Dupuy, H.J. (1997).The psychological general well-being (PGWB) index. Assessment of Quality of Life in clinical trials of cardiovascular therapies. Le Jacq Publishing: New York. 170–183.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. . (2009). Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Gupta, A., Solanki, R.K., Koolwal, G.D., Gehlot, S., (2015). Psychological well-being and burden in caregivers of patients with schizophrenia. International Journal of Medical Science and Public Health, 4(1), 70-76.

Hulya, Y., Cenk, A., & Suleyman, G. (2014). Depression, Anxiety and Quality of life in Caregivers of Long-Term Home Care Patients. Archives of Psychiatric Nursing, 28 (3), 193 – 6

Klainin-Yobas, P., Thanoi, W., Vongsirimas, N., & Lau, Y. (2020). Evaluating the English and Thai-Versions of the Psychological Well-Being Scale across Four Samples. Psychology, 11, 71-86. doi:10.4236/psych.2020.111006.

Lazarus, S., & Folkman, S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Springer Publishing Company.

MahatNirankun, S., Poompaisanchai, W., & Tapanya, P. (1997). Creating a stress test Suan Prung. Bulletin of Suan Prung.13(3):1-20. (in Thai).

Polit, D.F., & Beck, C.T. (2008). Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 8th ed. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins, 796 p.

Ryff, C. D., & Keyes, C. L. M. (1995). The structure of psychological well-being revisited. Journal of Personality and Social Psychology, 64(4), 719-727.

Ryff, C. D. (1989). Happiness is everything or is it? Exploration on the meaning of psychological well- being. Journal of Personality and Social Psychology, 57(6), 1069-1081.