การพัฒนาโปรแกรมการคืนสู่สุขภาวะเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ด้านการดำเนินชีวิตในชุมชนของผู้ป่วยโรคจิตเภท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลของโปรแกรมการคืนสู่สุขภาวะเพื่อเสริมสร้างความ สามารถด้านการดำเนินชีวิตในชุมชนของผู้ป่วยโรคจิตเภท
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (research and development: R&D) จากแนวคิดการส่งเสริมการฟื้นฟูสุขภาพจิตและบริการที่เกี่ยวข้อง อัตลักษณ์แห่งตน ความหวัง การเสริมพลัง ชีวิตทางสังคมและการสนับสนุน และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชและการคืนสู่สุขภาวะ โดยมีกระบวนการ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบของโปรแกรมการคืนสู่สุขภาวะและ 3) การประเมินผลโปรแกรมการคืนสู่สุขภาวะ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทจำนวน 64 คนที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการคืนสู่สุขภาวะเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการดำเนินชีวิตในชุมชนของผู้ป่วยโรคจิตเภท และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ เป็นกลุ่มละ 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมคืนสู่สุขภาวะเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการดำเนินชีวิตในชุมชนของผู้ป่วยโรคจิตเภท แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความสามารถด้านการดำเนินชีวิตในชุมชนของผู้ป่วยโรคจิตเภท วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู
ผลการศึกษา:
- เนื้อหาของโปรแกรมถูกต้องเหมาะสม มีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์อยู่ระหว่าง 0.8-1.0 ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ดำเนินกิจกรรมแบบกลุ่มในโรงพยาบาลระยะเวลา 2 สัปดาห์
- หลังการทดลองคะแนนความสามารถด้านการดำเนินชีวิตในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภทที่เข้าร่วมโปรแกรมการคืนสู่สุขภาวะสูงกว่าคะแนนความสามารถด้านการดำเนินชีวิตในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์.
ขวัญสุดา บุญทศ, อมรรัตน์ ศรีคำสุขไซโตะ, และสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. (2554). การสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26, 186-189.
ปทานนท์ ขวัญสนิท และมานิต ศรีสุรภานนท์. (2561). ตัววัดทางระบาดวิทยาเพื่อคำนวณภาระโรคจิตเภทในประเทศไทย The parameters for calculating the burden of schizophrenia in Thailand. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(1), 50-62.
มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2555). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์. (2561). แผนปฏิบัติงานโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ปีงบประมาณ 2561. นครราชสีมา: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์. (2562). แผนปฏิบัติงานโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ปีงบประมาณ 2562. นครราชสีมา: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
โรงพยาบาลศรีธัญญา. (2559). แนวทางฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชตามกรอบแนวคิดการคืนสู่สุขภาวะ: การจ้างงาน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: พรอสเพอรัสพลัส.
วลัยพร สุวรรณบูรณ์, สายใจ พัวพันธ์, สงวน ธานี และจิณห์จุฑาห์ ชัยเสนา ดาลลาส. (2558). ผลของใช้โปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(1), 68-79.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 1-18.
สุจิตรา วรสิงห์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ และชนัดดา แนบเกษร. (2557). ปัจจัยการรับรู้ตราบาปในผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 9(3), 98-104.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Allott, P., Loganathan, L., & Fulford, K. (2002). Discovering hope for recovery. Canadian Journal of Community Mental Health, 21(2), 13–33.
Bowie, C. R., Reichenberg, A., Patterson, T. L., Heaton R. K., & Harvey, P. D. (2006). Determinants of real-world functional performance in schizophrenia subjects: correlations with cognition, functional capacity and symptoms. The American Journal of Psychiatric, 163(3), 418-25.
Corrigan, P. W., Watson, A. C., & Barr, L. (2006). The self-sigma of mental illness: Implication for self-esteem and self-efficacy. Journal of Social and clinical Psychology, 25(8), 875-884.
Färdig, R. , Lewander, T., Melin, L., Folke, F., Fredriksson, A. (2011). A randomized controlled trial of the illness management and recovery program for persons with schizophrenia. Psychiatric Services Journal, 62(6),606-612.
Farkas, M. (2011). Review of Personal recovery and mental illness: A guide for mental health professionals. Psychiatric Rehabilitation Journal, 35(2), 158–159.
Fung, K. M., Tsang, H. W., Corrigan, P. W., Lam, C. S., & Cheng, W. (2007). Measuring self-stigma of mental illness in China and its implications for recovery. International Journal of Social Psychiatry, 53, 408-418.
Kaewprom, C. (2011). Perceptions and practices regarding recovery from schizophrenia among Thai mental health nurses. Unpublished Doctor of Philosophy Thesis. School of Nursing Midwifery and Indigenous Health, Faculty of Health and Behavior Sciences. University of Wollongong.
Kaewprom, C., Curtis, J., & Deane, F. P. (2011). Factors involved in recovery from schizophrenia: a qualitative study of Thai mental health nurses. Nursing and Health Sciences, 13(3), 323-327.
Rüsch, N., Angermeyer, M. C., & Corrigan, P .W. (2005). Mental illness stigma concepts, consequences and initiatives to reduce stigma. European Psychiatry, 20, 529-39.
Slade, M., Amering, M., & Oades, L. (2008). Recovery: an international perspective. Epidemiologia e Psichiatria Sociale, 17(2), 128-137.
Smith, M. K., & Ford, J. (1990). A client-developed functional level scale: The Community Living Skills Scale (CLSS). Journal of Social Service Research, 13(3), 61-84.
Vauth, R., Kleim, B., Wirtz, M., & Corrigan, P. W. (2007). Self-efficacy and empowerment as outcomes of self-stigmatizing and coping in schizophrenia. Psychiatry Research, 150, 71-80.
Wahl, O. F.(1999). Mental Health Consumers’ Experience of Stigma. Schizophrenia Bulletin, 25(3),467-478.
World Health Organization (WHO). (2017). Promoting recovery in mental health and related services: handbook for personal use and teaching WHO Quality Rights training to act, unite and empower for mental health (PILOTVERSION). Geneva: WHO.