การเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีน
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีนที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยในของสถาบันธัญญารักษ์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่ 13 - 19 ปีที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยระยะฟื้นฟูสมรรถภาพของสถาบันธัญญารักษ์ทั้งเพศชายและเพศหญิง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักการอำนาจการทดสอบ (power analysis) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองร่วมกับการพยาบาลตามปกติเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างใช้สถิติพรรณนาคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนระดับความความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการพยาบาลตามปกติ โดยใช้สถิติ t-test
ผลการศึกษา: พบว่า (1) ผู้ป่วยวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีนทั้งสองกลุ่ม มีคะแนนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระดับค่อนข้างน้อย (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของผลต่างค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
สรุป: โปรแกรมการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองส่งผลให้ผู้ป่วยวัยรุ่นเสพติดแอมเฟตามีนรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมากขึ้น ดังนั้นควรมีการออกแบบโปรแกรมการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเสพติดแอมเฟตามีนโดยการเพิ่มโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันปัญหาทางด้านจิตใจ และเพื่อป้องกันการเสพติดซ้ำของผู้ป่วย
Objective: The objective was to study the self-esteem enhancement for adolescent patients with amphetamine-dependence.
Methods:The sample consisted of both female and male adolescents with amphetamine-dependence aged 13 to 19 years during rehabilitation at Thanyarak Institution. Power analysis was used to determine sample size. Total subjects were 60 and were assigned into two groups, an experimental group of 30 and a control group of 30. The experimental group received a program that enhanced self-esteem with normal nursing therapeutics for seven weeks, twice a week, for approximately 90 minutes. The control group received only normal nursing therapeutics. Personal data were analyzed using percent, mean, and standard deviation. The mean scores on self-esteem between the experimental and control groups before and after the program were analyzed by t-test.
Results: The results showed that (1) amphetamine-dependent patients of both the experimental and control groups had low self-esteem levels and (2) the mean scores regarding the differences in the level of self-esteem of patients between the experimental group after receiving the experimental treatment and the control groups receiving normal nursing therapeutics were statistically significant different at p < .001.
Conclusion: A program to enhance self-esteem can promote self-esteem among adolescent patients with amphetamine dependence. This may be a useful way to design a rehabilitation program for drug-amphetamine patients to increase their self-esteem. Such a program can be applied in daily practice to prevent relapse in using amphetamines.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย