ผลของโปรแกรมไบโอฟีดแบคร่วมกับการสร้างจินตนาการต่อระดับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เสพสารแอมเฟตามีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมไบโอฟีดแบคร่วมกับการสร้างจินตนาการต่อระดับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เสพสารแอมเฟตามีน
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพสารแอมเฟตามีนในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพสถาบันธัญญารักษ์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 16 – 35 ปี จำนวน 68 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบจับคู่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมไบโอฟีดแบคร่วมกับการสร้างจินตนาการร่วมกับการพยาบาลตามปกติเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบประเมินระดับพฤติกรรมก้าวร้าว The Overt Aggression Scale (OAS) และเครื่องมือไบโอฟีดแบคแบบ Skin-conductance (SC) และ Skin-temperature (ST)biofeedback Instrument วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้สถิติพรรณนา คำนวณค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนระดับพฤติกรรมก้าวร้าว ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ t-test
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า (1) ค่าคะแนนความต่างของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมไบโอฟีดแบคร่วมกับการสร้างจินตนาการและการพยาบาลตามปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, (2) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมก้าวร้าวตามการประเมินด้วย เครื่องมือไบโอฟีดแบคแบบ Skin-conductance และ Skin-temperature Biofeedback Instrument พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001
Objective: The purposes of this quasi - experimental research was to study the effect of a biofeedback training program and autogenic training program on aggressive behavior levels of amphetamine abusers.
Methods: The sample consisted of 68 male and female amphetamine abusers during rehabilitation at Thanyarak Institution with ages ranged from 16 to 35 years. The sample group was matched pairs and divided into 2 groups: an experimental and a control group. The experimental group participated in a biofeedback training program and autogenic training program for three days a week during 6 consecutive weeks, whereas the control group received normal treatment. The Overt Aggression Scale (OAS), Skin-conductance, and skin - temperature biofeedback instruments were used for data collection. Descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation were used to describe personal data. A t-test for the independent sample was used.
Results: Major findings were the following: 1) there was a statistically significant difference of aggressive mean scores between the experimental group and the control group, at the level .05, and 2) the mean scores of aggressive levels were different between the pre-test and post-test at statistically significant levels of .01 and .001 assessed by the Skin-conductance and Skin-temperature biofeedback instruments.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย