ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

Main Article Content

กรรณิการ์ ผ่องโต
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งและเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดอ่างทอง ในช่วงเดือน ตุลาคม 2555-มกราคม 2556 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 ราย โดยการจับคู่ให้คล้ายกันในด้าน เพศ และอายุ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจตามกรอบแนวคิดความเข้มแข็งทางใจของกรอทเบอร์ก (Grothberg, 1995) โดยดัดแปลงจากแนวทางการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจของนายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล ประกอบด้วย 5 กิจกรรม รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตาย ของ Beck เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบประเมินพลังสุขภาพจิต ของกรมสุขภาพจิต เครื่องมือทุกชนิดผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทดสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายของเบค และแบบประเมินพลังสุขภาพจิต โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟามีค่าเท่ากับ .85 และ .81 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที

ผลการศึกษา: 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่ำกว่าผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Objectives: 1) To compare the suicidal ideation in suicidal attempters before and after receiving the resilience enhancement program, and 2) To compare the suicidal ideation in suicidal attempters who received the resilience enhancement program and those who received regular caring activities.

Methods: The control group pretest-posttest design was used in this study. The subjects were 40 persons with suicidal behavior admitted to a community hospital in Ang Thong province during October 2012 – January 2013. The subjects were matched pairs and then divided into experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the resilience enhancement program using Grotberg’s framework to strengthen the mind (Grotberg, 1995). The resilience enhancement program was modified from the program which was developed by Praveit Tantipiwatthanakul that consists of five activities. Data were collected using personal data questionnaire, and Beck’s suicidal assessment. Research monitoring instruments was Resilience Quotient [RQ], a strength mental health evaluation of Department of Mental Health. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The Chronbach’s Alpha coefficient reliability of the two questionnaires were .85 and .81 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.

Results: 1) The suicidal ideation in suicidal attempter who received the resilience enhancement program was significantly lower than that before, at p .05 level.  2) The suicidal ideation in suicidal attempter who received the resilience enhancement program was significantly lower than those who received regular caring activities at .05 level.

 

 

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กรรณิการ์ ผ่องโต, โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย