ปัจจัยทำนายความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

พรทิพย์ วชิรดิลก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤติของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ปี ที่ศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 358 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านส่วนบุคคล 2) ความสัมพันธ์กับบิดามารดาและเพื่อน 3) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู และ 4) ความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปีมากกว่าร้อยละ 90 มีความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตอยู่ในระดับปกติ และมากกว่าระดับปกติโดยอายุ ระดับชั้นปี สัมพันธภาพกับบิดามารดา สัมพันธภาพกับเพื่อน และการเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตได้ ร้อยละ 33.4 (p < .05)

สรุป: ควรมีการส่งเสริมความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤตของนักศึกษาพยาบาล โดยการจัดบริการการปรึกษา การจัดกิจกรรมกลุ่มที่สามารถสร้างความเชื่อมั่น ความภาคภูมิใจในตนเอง และความผูกพันระหว่างเพื่อน รวมทั้งการให้ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงแหล่งสนับสนุนทางสังคม สำหรับผู้ปกครองควรมีการปรับทัศนคติและให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเลี้ยงดูลูกวัยรุ่น และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถปรับตัวเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตได้ และสามารถสำเร็จการศึกษาสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพอย่างเต็มภาคภูมิ

Objective: The purpose of this cross - sectional descriptive research was to study predictive factors of Resilience Quotient (RQ) of nursing students in SuanDusit Rajabhat University.

Methods: The samples consisted of 358 nursing students studying in years 1-4 during academic year 2556. The instruments consisted of socio-demographic questionnaire, parent-child and peer relationships questionnaire, three styles of parenting; authoritative, authoritarian and permissive questionnaire, and Resilience Quotient questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, and stepwise multiple regression analysis.

Results: The results showed that more than 90 percentages of nursing students had normal and higher level of RQ. The significantly positive factors related to RQ were age, level of education, parent-child and peer relationships, and authoritative parenting (p < .05). The significantly negative factor related to RQ was authoritarian parenting (p < .05). Peer relationships and authoritative parenting style could collectively explain variance of RQ at 33.4 percentages (p < .05).

Conclusion: This study suggested that RQ of nursing students can be improved by providing counseling by advisors, hotlines and group activities that promote self-esteemand peer relationship. Also, information about public supporting center should be made available for them. For parents, attitude towards the way to take care of adolescents and parent-child relationship should be adjusted with the university support. All the factors will help the students to be adaptive to the crisis situation and graduate eventually.

 

 

 

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พรทิพย์ วชิรดิลก, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อาจารย์ประจำสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ