ปัจจัยบำบัดในกลุ่มละครจิตบำบัดสำหรับนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

กนกพร เรืองเพิ่มพูล
สุดา รองเมือง
พัชรินทร์ นินทจันทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบำบัดที่เกิดขึ้นในกลุ่มละครจิตบำบัดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลของกลุ่มส่งเสริมการปรับตัวทางสังคมโดยใช้เทคนิคละครจิตบำบัดในนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี (สุดา รองเมือง และคณะ, 2556)

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ประจำปีการศึกษา 2552 จำนวน 9 คน เข้าร่วมกลุ่มส่งเสริมการปรับตัวทางสังคมโดยใช้เทคนิคละครจิตบำบัด เป็นเวลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 11 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เป็นกิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างความคุ้นเคยและเตรียมความพร้อม ส่วนกิจกรรมกลุ่มอีก 10 ครั้งนั้นผู้วิจัยใช้เทคนิคละครจิตบำบัดเพื่อส่งเสริมการปรับตัวทางสังคม

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกลุ่มละครจิตบำบัดสมาชิกกลุ่มเลือกปัจจัยบำบัดที่เกิดขึ้นในกลุ่มมาก 5 อันดับแรก ดังนี้ ความรู้สึกว่าตนเองไม่แตกต่างจากผู้อื่น (ร้อยละ 68.93) การเรียนรู้ข้อมูลใหม่ (ร้อยละ 68.89) การได้เรียนรู้ในสัจธรรมของชีวิต (ร้อยละ 67.52) ความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น (ร้อยละ 60.56)การมีความผูกพันภายในกลุ่ม (ร้อยละ 60.08)

สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินกลุ่มละครจิตบำบัดในนักศึกษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Objectives: The purpose of this study was to investigate therapeutic factors of the psychodrama groups which were parts of the study of the effects of the social adjustment promoting group using psychodrama techniques for nursing students at Ramathibodi School of Nursing (Rongmuang et al., 2013)

Methods: The subjects of the study were nine third-year nursing students studying in the academic year 2009, attending the social adjustment promoting group with psychodrama techniques for 2 sessions per week, 2 hours per session, altogether 11 sessions. The first session included introducing group members and preparing them for the upcoming activities. The other 10 sessions, the researchers used the psychodrama techniques to reinforce social adjustment among the participants.

Results: Findings revealed that after participating in the psychodrama groups, theparticipants rated the top five therapeutic factors as follows: universality (68.93%), imparting of information (68.89%), existential factors (67.52%), altruism (60.56%), and group cohesiveness (60.08%).

Conclusion: The results suggested that the knowledge of therapeutic factors can be used to contribute the psychodrama group among nursing students more effectively.

 

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กนกพร เรืองเพิ่มพูล, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สุดา รองเมือง, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล