ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกใช้สารแอมเฟตามีนของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีน

Main Article Content

กฤษดา ทองทับ
เพ็ญพักตร์ อุทิศ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้รูปแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้ง โดยมีการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกใช้สารแอมเฟตามีนของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำ และ 2) การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกใช้สารแอมเฟตามีนของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพติดสารแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเสนา และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ด้วย อายุ ระดับการศึกษา และอายุที่เริ่มใช้สารแอมเฟตามีน แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำ 2) แบบวัดการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกใช้สารแอมเฟตามีน และ 3) แบบประเมินการเผชิญความเครียดในการเสพซ้ำ เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดยเครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .81 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยที่สำคัญดังนี้  1. การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกใช้สารแอมเฟตามีนของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีนหลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำสูงขึ้นกว่าก่อนได้ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกใช้สารแอมเฟตามีนของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีนหลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดในการป้องกันการเสพซ้ำสูงขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Objectives: The purposes of this quasi- experimental research using pretest-posttest randomized control group design were to compare: 1) the amphetamine abstinence self-efficacy before and after receiving coping skills training in relapse prevention program, and 2) the amphetamine abstinence self-efficacy between amphetamine users in the experimental group who received coping skills training in relapse prevention program and those in the control group who received regular nursing care.

Methods: A total sample of 40 amphe-tamine dependence patients who met the inclusion criteria were purposively recruited from out-patient department, Sena Hospital. The subjects were matched-pair according to age, educational level and age at start using amphetamine, and then randomly assigned into experimental group and control group, 20 subjects in each group. The research instruments consisted of 1) the Coping Skills Training inRelapse Prevention Program, 2) the Abstinence Self-efficacy Scale and 3) the Relapse Coping Questionnaire. All instruments were verified for content validity by 5 professional experts. Cronbach’s alpha coefficients of the 2nd and 3rd instruments were .81 and .84 respectively. The descriptive statistics and t-test were usedin data analysis.

Results: Major findings were as follow: 1) The abstinence self-efficacy of amphetamine dependence after participating in program was significantly higher than that before (p < .05).  2) The amphetamine abstinence self-efficacy of amphetamine dependence after participating in program was significantly higher than those who participated in the regular nursing care (p < .05).

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กฤษดา ทองทับ, แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมนารมย์

พยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมนารมย์

เพ็ญพักตร์ อุทิศ, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย