ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางคลินิกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กสมาธิสั้น

Main Article Content

มยุรา ชัยเดช
จินตนา ยูนิพันธุ์
สุนิศา สุขตระกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางคลินิก และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กสมาธิสั้น และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางคลินิก กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กสมาธิสั้น

วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างคือ บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองของเด็กสมาธิสั้น จำนวน 187 คน ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหรือสถาบันสังกัดกรมสุขภาพจิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความรุนแรงของอาการ2) แบบประเมินพฤติกรรม และ 3) แบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ฉบับภาษาไทย เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ .92, .90, และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์ Eta และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กสมาธิสั้น ได้แก่ ปัจจัยทางคลินิก โดยพบว่าปัญหาพฤติกรรมกับเพื่อน ปัญหาพฤติกรรมทางสังคม และความรุนแรงของอาการ มีความสัมพันธ์ทางลบ (r = -.270, -.507, -.398) กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กสมาธิสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Objectives: 1) To study the personal factors, clinical factors and health related quality of life among children with ADHD, and 2) to study the relationships between personal factors and clinical factors and health related quality of life among children with ADHD.

Methods: This study was a descriptive research. Participants were 187 parents or caregivers of children with ADHD from outpatient services in hospitals or institutes of Mental Health Department. Research instruments were the SNAP - IV [Swanson, Nolan and Pelham IV Questionnaire (Short Form)], Strengths and Difficulties Questionnaire (SDQ), and CHIP-CE/PRF [Child Health and Illness Profile- ChildEdition/Parent Report Form (Thai version)]. All instruments were tested for content validity by a panel of experts. The reliabilities of the instruments were .92, .90, and .96 respectively. Correlational analysis was done by using Eta Coefficient and Pearson’s Product-Moment Coefficient.

Results: The clinical factors as peer behavior problems, social behavior problems and severity of symptoms were significantly and negatively correlated (r = -.270, -.507,-.398) with health related quality of life amongchildren with ADHD, at .01 level.

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มยุรา ชัยเดช, กลุ่มงานการบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์

พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์

จินตนา ยูนิพันธุ์, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุนิศา สุขตระกูล, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย