ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

Main Article Content

วารุณี แสงเมฆ
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จากผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว 2) แบบประเมินการทำหน้าที่ของครอบครัว 3) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล และ 4) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (t-test)

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาที่สำคัญมีดังนี้  1. คะแนนเฉลี่ยการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  2. คะแนนเฉลี่ยการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

Objecttive: This study aimed to examine the effect of family psychoeducation program on family functioning as perceived by schizophrenic patients’ caregivers

Methods: This study was a quasi-experimental research. Forty caregivers of schizophrenic patients under responsibility of Khaochamao Hospital, Rayong Province who met the inclusion criteria were randomly assigned into experimental group and control groups, 20 subjects for each group. Research instrument were: 1) family psychoeducation program, 2) the family functioning scale, 3) caregivers’ knowledge questionnaire, and 4) social support scale. Data were analyzed using descriptive, and t-test statistics.

Results: Major findings were as follows:  1. The mean score of family functioning of caregivers of schizophrenic patients receiving family psychoeducation program after experiment was significantly higher than before participating in the program.  2. The mean score of family functioning of family caregivers of schizophrenic patient receiving family psychoeducation program was significantly higher than those of control group.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วารุณี แสงเมฆ, โรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย