การพัฒนารูปแบบความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ของนักเรียนประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา 2 จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ของนักเรียนประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา 2 จังหวัดปทุมธานี
วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีกระบวนการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วินิจฉัยปัญหา กลุ่มนักเรียน 386 คน และผู้บริหารโรงเรียน ครูประจำชั้น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ปกครองนักเรียน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบฯ ได้นำรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 - 6 จำนวน 30 คน มีกระบวนการเรียนรู้ 6 ฐาน รวม 6 มิติ ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบฯ วิเคราะห์ค่าความตรงของเนื้อหา ได้ 0.8 และค่าความเที่ยง ได้ 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : พบว่าภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ของนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีมีความชุกร้อยละ 23.17 ระยะที่ 2 นักเรียนมีภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 4.92 ความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง หลังการใช้รูปแบบฯ นักเรียนประถมศึกษามีความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เพิ่มขึ้นทั้ง 6 มิติ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ การโต้ตอบซักถามและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ การตัดสินใจ การบอกต่อ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน คะแนนเฉลี่ยหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สรุป : ผลการวิจัยแสดงว่าโปรแกรมนี้มีส่วนช่วยให้นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว และมีความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณ์เพิ่มขึ้น โรงเรียนและผู้ปกครองมีการติดตามและมีคู่มือเฝ้าระวังภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ของนักเรียนประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย