ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานและการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุรา

Main Article Content

ภรภัทร สิมะวงศ์
ดาราวรรณ ต๊ะปินตา
ธรณินทร์ กองสุข
สมบัติ สกุลพรรณ์
เชาวนี ล่องชูผล
จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์
สกาวรัตน์ เทพประสงค์
สรัญญา วรรณชัยกุล
ชลีพร สมใจ

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวเป็นฐาน (F-CBT) เปรียบเทียบกับโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (MET) ต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุรา


               วิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ติดสุราที่ เคยได้รับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาล และอาศัยอยู่ในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 140 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม F-CBT 70 คน และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม MET 70 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา 2) แบบประเมินความบกพร่องของการรู้คิด 3) โปรแกรม F-CBT และ 4) โปรแกรม MET วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และสถิติทดสอบค่าที


               ผลการศึกษา : 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม F-CBT ในระยะหลังการทดลองทันที ระยะติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p < .01) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราในระยะหลังการทดลองทันทีของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม F-CBT กับกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม MET  ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราในระยะติดตาม 3 เดือนและ 6 เดือนของกลุ่มได้รับโปรแกรม F-CBT แตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม MET อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (p < .01)


               สรุป : โปรแกรม F-CBT สามารถลดพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ติดสุราดีกว่าโปรแกรม MET ในระยะติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน ดังนั้นควรมีการส่งเสริมการนำโปรแกรม F-CBT ไปใช้ในการดูแลผู้ติดสุราต่อเนื่องในชุมชน เพื่อช่วยให้ผู้ติดสุราลดการดื่มสุรา

Article Details

บท
บทความวิจัย