การพัฒนาและประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง

Main Article Content

จิดารัตน์ พิมพ์ดีด
ณัฏฐาภรณ์ เบ้าเรือง
สุนละมัย ทาคำใจ
ประกายดาว โฉมโสภา
พรดุสิต คำมีสีนนท์

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง และทดสอบผลของโปรแกรม


                วิธีการศึกษา : การวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่อยู่ในระยะคงสภาพการรักษา จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คน ได้เข้าร่วมโปรแกรม และกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม ระยะเวลาการศึกษาเดือนพฤษภาคม 2564 - พฤศจิกายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ  แบบประเมินทักษะการดำรงชีวิตการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชในชุมชน (LSA-30) และแบบวัดอาการทางลบ (NSS) วัดก่อนและหลังการทดลองเสร็จสิ้น  และในระยะติดตามผล 2 เดือน นำไปหาค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาสัมประสิทธิ์อัลฟาของ   ครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม การวิเคราะห์ความแปรปรวนวัดซ้ำ


                ผลการศึกษา : 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1. การสื่อสารที่เหมาะสม 2. การพูด การฟัง ที่เหมาะสม 3. การจ่ายตลาด 4. ทบทวนเนื้อหากิจกรรมครั้งที่ 1- 3 5. การฝึกทักษะทางสังคมใน 4 สถานการณ์จริง และ 6. การให้ความรู้เรื่องการใช้ยาทางจิตเวช ประเมินค่า IOC ได้ค่าคะแนนเท่ากับ 1.0 2) คะแนนค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้านสังคมและการสื่อสาร และอาการด้านลบหลังการทดลอง พบว่า ค่าประมาณของคะแนนค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้านสังคมและการสื่อสาร และอาการด้านลบระหว่างสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05 (Xdiff =2.83, 95% CI of  Xdiff = 1.22-4.45, p-value = 0.001) และ(Xdiff = 2.08, 95% CI of  Xdiff = 0.93-3.24, p-value < 0.001) ตามลำดับ -คะแนนค่าเฉลี่ยพฤติกรรมด้านสังคมและการสื่อสาร และอาการด้านลบก่อนและหลังการทดลอง รวมถึงระยะติดตาม 2 เดือนหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05  อย่างน้อย 1 คู่ (F(2,44) = 15.42, p-value < 0.001) และ(F(2,44) = 27.82, p-value < 0.001) ตามลำดับ 3) ผลการกลับมารักษาซ้ำเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หลังจากจำหน่าย 3 เดือน พบว่า กลุ่มทดลอง ร้อยละ 100.00 ไม่กลับมารักษาซ้ำ แต่กลุ่มควบคุมกลับมารักษาซ้ำถึงร้อยละ 16.67


                สรุป : การฝึกทักษะทางสังคม สามารถทำให้อาการด้านลบลดลง และพฤติกรรมด้านสังคมและการสื่อสารของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังดีขึ้น โปรแกรมนี้น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งของพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย