ผลของการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางเพื่อเสริมสร้างความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ้อมใหญ่

Main Article Content

ฤชุญา เจตชัยชนะ
ชลพร กองคำ
กาญจนา สุทธิเนียม
ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อเปรียบเทียบความสุขของผู้สูงอายุก่อนและหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง 2) เพื่อเปรียบเทียบความสุขของผู้สูงอายุภายหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม


               วิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 16 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์  สุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คนและกลุ่มควบคุม 8 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางเพื่อเสริมสร้างความสุข สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1.30 ชั่วโมง รวม 11 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความสุขของผู้สูงอายุ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 ค่าความเที่ยง 0.915 และการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางมีค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่า 0.60 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบ โดยใช้ Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test


               ผลการศึกษา : 1) ความสุขของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางแตกต่างจากก่อนได้รับการปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสุขของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


               สรุป : การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางสามารถเสริมสร้างความสุขในผู้สูงอายุได้

Article Details

บท
บทความวิจัย