ความเครียด ภาวะซึมเศร้า กลยุทธ์การรับมือกับปัญหา และความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลในสถาบันแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

สุหทัย โตสังวาลย์
ทยาวีร์ จันทรวิวัฒน์

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและภาวะซึมเศร้า กับกลยุทธ์การรับมือกับปัญหาและความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลในสถาบันแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่าง  การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


                วิธีการศึกษา : ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 270 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเครียดสวนปรุง แบบวัดภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามกลยุทธ์การรับมือกับปัญหา และแบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแมนวิทนีย์ ยูเทส สถิติครัสคัล วอลลิส และสถิติเชิงสหสัมพันธ์สเปียร์แมน


                ผลการศึกษา : นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 52.20 รองลงมาอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 34.40 และมีภาวะซึมเศร้าถึงร้อยละ 7.00 นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์การรับมือกับปัญหาแบบมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 (SD = .53) และ คะแนนความแข็งแกร่งในชีวิตในระดับสูง มีค่าเฉลี่ย 122.25 (SD = 11.39) ผลการศึกษาพบว่าความเครียดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลาง (rs = .626) นอกจากนี้ยังพบว่า ความเครียดและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลยุทธ์การรับมือกับปัญหาแบบไม่มุ่งมั่นแก้ไขอารมณ์ในระดับปานกลาง (rs = .583, .564) และเชิงลบกับความแข็งแกร่งในชีวิตในระดับปานกลาง (rs = -.445, -.582)


                สรุป : นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับปานกลางและสูง ดังนั้นควรมีการพัฒนากลยุทธ์การรับมือกับปัญหาที่เหมาะสม และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตให้กับนักศึกษาพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริญญา แก้วสกุลทอง. (2562). ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 1-11.

จิราวรรณ กล่อมเมฆ, อรเพ็ญ พงศ์กล่ำ, และวรวลัญช์ บรรลือทรัพย์. (2565). การเปรียบเทียบการรับรู้ต่อสิ่งก่อความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและนักศึกษาพยาบาล ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 8(2), 181-194.

ชุติมา จิรัฐิเกรียงไกร, นพพร ว่องสิริมาศ, วารีรัตน์ ถาน้อย, และสุภาภัค เภตราสุวรรณ. (2564). ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 39(2), 77-89.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์, สิริพิมพ์ ชูปาน, และภาคิณี เดชชัยยศ. (2562). การแก้ปัญหาทางสังคมและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(1), 87-99.

ทิวาพร ฟูเฟื่อง และ กัญญาวีร์ โมกขาว. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐและเอกชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 373-382.

ธงรบ เทียนสันติ์, สาวิตรี แย้มศรีบัว, และวาทินี วิชัยขัทคะ. (2564). การจัดการความเครียดสำหรับสถานการณ์ Covid-19. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 15(3), 453-466.

ธนานันต์ นุ่มแสง และ ธนิตา ตันตระรุ่งโรจน์. (2561). การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้นฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(2), 189-98.

เบญจวรรณ วงศ์ปราชญ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 201-210.

เปรมฤดี ศรีวิชัย และ พิมพิมล วงศ์ไชยา. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ความเครียด และภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารสภาการพยาบาล, 27(4), 57-68.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภรม, และพิศสมัย อรทัย. (2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(1), 1-13.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนา ทวีคูณ. (2555). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. วารสารพยาบาล, 61(2), 18-27.

ภัคจิรา ภูสมศรี. (2563). โรคซึมเศร้าปัญหาสุขภาพใกล้ตัว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย, 14(2), 51-58.

ภัทรา เผือกพันธ์, กันยพัชร์ เศรษฐโชฏึก, และภาวิณี ซ้ายกลาง. (2565). ผลกระทบทางจิตใจจากการระบาดของโรคโควิด 19 ต่อนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาล, 71(4), 55-62.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2564). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. บริษัทดีกรี วิชั่น จำกัด.

วนัญญา แก้วแก้วปาน. (2564). การศึกษาความเครียดของนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 13-28.

วรรณวดี เนียมสกุล. (2560). ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2), 1-17.

วิไลพร ขำวงษ์, สุดคนึง ปลั่งพงษ์พันธ์, และทานตะวัน แย้มบุญเรือง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียด ของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 78-87.

วิสุทธิ์ โนจิตต์, นภัสสร ยอดทองดี, วงเดือน เล็กสง่า, และปารวีร์ มั่นฟัก. (2563). ปัจจัยทำนายความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10(1), 118-128.

ศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย. (2565). ปัญหาการฆ่าตัวตายในคนไทย ปี 2565. ศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. https://suicide.dmh.go.th/news/

สาดี แฮมิลตัน, จรูญศรี มีหนองหว้า, และอรุณศรี ผลเพิ่ม. (2565). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 1926-1941.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล และ ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1), 81-92.

สุริยา ยอดทอง, นันทยา เสนีย์, และจิรานุวัฒน์ ชาญสูงเนิน. (2560). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (หน้า 761-772). หาดใหญ่.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.

สุหทัย โตสังวาลย์. (2564). การเห็นคุณค่าในตนเอง ความแข็งแกร่งในชีวิตและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(1), 58-74.

โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และจุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว. (2561). ปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 32(1), 150-167.

อุมาพร ตรังคสมบัติ, วชิระ ลาภบุญทรัพย์, และปิยลัมภร หะวานนท์. (2540). การใช้ CES-D ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 42(1), 2-13.

Addison, C. C., Campbell-Jenkins, B. W., Sarpong, D. F., Kibler, J., Singh, M., Dubbert, P., Wilson, G., Payne, T., & Taylor, H. (2007). Psychometric evaluation of a Coping Strategies Inventory Short-Form (CSI-SF) in the Jackson Heart Study cohort. International Journal of Environmental Research and Public Health, 4(4), 289-95.

Biggs, A., Brough, P., & Drummond, S. (2017). Lazarus and Folkman's Psychological Stress and Coping Theory. In C. L. Cooper, & J. C. Quick, The Handbook of Stress and Health: A Guide to Research and Practice (pp. 351-364). John Wiley & Sons Ltd.

Bolton, D., & Gillett, G. (2019). The Biopsychosocial Model 40 Years On. In: The Biopsychosocial Model of Health and Disease (pp. 1-43). Palgrave Pivot, Cham.

Grotberg, E. (2003). Resilience for today: Gaining strength from adversity. Praeger Publishers.

Hwang, J., Ding, Y., Chen, E., Wang, C., & Wu, Y. (2023). Asian American university students' adjustment, coping, and stress during the COVID-19 pandemic. International Journal of Environmental Research and Public Health, 20(5), 4162.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Lazarus, R., & Folkman, S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. Springer.

Li, Z-S, & Hasson, F. (2020). Resilience, stress, and psychological well-being in nursing students: A systematic review. Nurse Education Today, 90, 104440.

Masha'al, D., Shahrour, G., & Aldalaykeh, M. (2022). Anxiety and coping strategies among nursing students returning to university during the COVID-19 pandemic. Heliyon, 8(1), e08734.

Radloff, L. S. (1977). The CES-D scale: A self-report depression scale for research in the general population. Applied Psychological Measurement, 1(3), 385-401.

Suls, J., & Fletcher, B. (1985). The relative efficacy of avoidant and nonavoidant coping strategies: A meta-analysis. Health Psychology, 4(3), 249-288.

Tosangwarn, S. (2018). Exploring the factors associated with depressive symptoms and understanding stigma associated with living in a care home among older adults residing in care homes in Thailand [Docteral dissertation, University of Nottingham]. Nottingham eTheses. https://eprints. nottingham.ac.uk/51098/

Tung, Y. J., Lo, K. K., Ho, R. C., & Tam, W. S. (2018). Prevalence of depression among nursing students: A systematic review and meta-analysis. Nurse Education Today, 63, 119-129.

Uakarn, C., Chaokromthong, K., & Sintao, N. (2021). Sample size estimation using Yamane and Cochranand Krejcie and Morgan and Green Formulas and Cohen Statistical Power Analysis by G*Power and Comparisons. Apheit International Journal, 10(2), 76-88.