ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Main Article Content

ฤดีมาศ เนาวสาร
ชลพร กองคำ
กาญจนา สุทธิเนียม
ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : 1) เปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กลุ่มทดลองก่อนและหลังการปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง 2) เปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ


               วิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลอง แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะทดลอง และระยะหลังการทดลอง โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1.30 ชั่วโมง รวม 12 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ตอบแบบวัดความวิตกกังวลที่มีคะแนนความวิตกกังวลเรียงลำดับจากคะแนนมากที่สุดลงมาถึงลำดับที่ 16 จำนวน 16 คน มีความยินดีและสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง และทำการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 8 คน กำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 2) การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย  Wilcoxon signed-rank test และ Mann–Whitney U test


               ผลการศึกษา : 1) ผลการเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง พบว่า ความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หลังการทดลองลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม พบว่า ความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


               สรุป : การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง สามารถลดความวิตกกังวลของผู้ปกครองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย