ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าของวัยทำงานในสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19

Main Article Content

ศริญญา ชาญสุข
สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อคัดกรองและประเมินโรคซึมเศร้า และหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าของวัยทำงาน ช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในชุมชนสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี


                วิธีการศึกษา : รูปแบบการศึกษาวิเคราะห์แบบตัดขวาง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้ากับวัยทำงานอายุ 18 - 59 ปี ที่อาศัยในตำบลสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ จำนวน 400 คน ศึกษาในเดือนมีนาคม 2565  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและการติดเชื้อ COVID-19 2) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า (2Q) และแบบประเมินโรคซึมเศร้า (9Q) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติ Logistic Regression


                ผลการศึกษา : พบว่า วัยทำงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (69.2%) อายุเฉลี่ย 41.25 ปี สถานภาพสมรสคู่  (80.8%) จบระดับมัธยมศึกษา (59.8%) อาชีพรับจ้าง (59.5%) รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 10,643.75 บาท สถานภาพเป็นสมาชิกในครอบครัว (83.7%)  ไม่ติดเชื้อ COVID-19 (99.2%) ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 โดยยังคงสถานะการจ้างงาน (50.0%) และได้รับความช่วยเหลือจากสังคม (99.2%) มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า (30.0%) และมีอาการของซึมเศร้าระดับน้อยมาก (100%) การมีบทบาทเป็นผู้นำครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR= 2.659, 95% CI = 1.365 to 5.180, p < 0.05)


                สรุป : บทบาทการเป็นผู้นำครอบครัวของวัยทำงานเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า จึงเป็นข้อมูลที่สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพจิตและ ป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยทำงานโดยเฉพาะผู้มีบทบาทเป็นผู้นำครอบครัว รวมไปถึงการพัฒนารูปแบบการดูแลวัยทำงานที่มีโรคซึมเศร้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (6 กุมภาพันธ์ 2565). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช. https://dmh.go.th/report/datacenter/hdc/reds.asp.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (16 ธันวาคม 2564). แนวปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีภาวะ long COVID ในกลุ่มอาการทางสุขภาพจิต (Depression in Long COVID). https://mhso.dmh.go.th/fileupload/20220314 1114263113.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (20 มกราคม 2563). ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม: ปิรามิดประชากร ตำบลสามพร้าว ปี 2563. https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/populationpyramid/tambon?year=2020&tb=410114

กุลณ์วลี กิจวัฒนะโภคิน และธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. (2565). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความกังวลความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของพนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(3), 393-403.

เขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุข. (31 พฤษภาคม 2565). รายงานสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 31 พฤษภาคม 2565เวลา 16.00 น. เขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุข. https://r8way.moph.go.th/r8way/covid-19

คันธรส สุขกุล และ ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2562). ภาวะซึมเศร้าในประชากรวัยแรงงาน: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 229-238.

จันทนา เกิดบางแขม. (2564). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของแรงงานไทย ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไชยวัฒน์ แพงพรมมา. (2565). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของประชาชน อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 7(2), 69-81.

ณัฐกิต จรูญ. (30 กันยายน 2565). รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565.

ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://covid19.nrct.go.th/daily-report-30sep2022/

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. (2564) ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 29(1), 12-21.

ธรณินทร์ กองสุข. (2553). คู่มือผู้เข้ารับการอบรมแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ต.

วราพร ศรีภิรมย์, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์, วรภัทร รัตอาภา. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหญิงวัยกลางคน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34(3), 20-42.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักข่าว HFocus เจาะลึกระบบสุขภาพ . (27 มีนาคม 2566). ภาวะสังคมไทย 2565 ป่วยซึมเศร้าพุ่งสูงแนวโน้มวัยรุ่น-วัยทำงานฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 27 มีนาคม 2566. https://www.hfocus.org/content/2023/03/27358

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี. (2 ธันวาคม 2563). รายงานประจำปี 2563. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี. https://udo.moph.go.th/thepost/upload/fDAG pewyXpJ4pQYaLbUftR7p6i/oEYZuHniCHbgh3TxvEaVbti1Dm.pdf

สุวรรณา อรุณไพศาล, ธรณินทร์ กองสุข, ณรงค์ มณีทอน, เบญจลักษณ์ มณีทอน, กมลเนตร วรณเสวก, เกษราภรณ์ เคนบุปฝา, ธีราภา ธานี, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. (2549). การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด 2 คำถาม ในชุมชนไทยอีสาน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 50, 2-13.

Cohen S, & Wills TA. (1985). Stress, social support, and the buffering hypothesis. Psychological Bulletin, 98(2), 310-357.

Kim, S. S., Muntaner, C., Kim, H., Jeon, C. Y., & Perry, M. J. (2013). Gain of employment and depressive symptoms among previously unemployed workers: a longitudinal cohort study in South Korea. American journal of industrial medicine, 56(10), 1245-1250.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Pearlin Leonard I. (1983). Role Strains and personal stress. In H B. Kaplan (Ed.), Psychosocial stress: Trends in theory and research (pp. 3-22). New York: Academic Press.

Orathai, P. (2006). Relationships between multiple roles, psychological well-being, skills and performance of government university administrators: an application of multi sample, non-recursive structural equation model. Journal of Research Methodology, 19, 291-314.

Salari, N., Hosseinian-Far, A., Jalali, R., Vaisi-Raygani, A., Rasoulpoor, S., Mohammadi, M., Rasoulpoor, S., & Khaledi-Paveh, B. (2020). Prevalence of stress, anxiety, depression among the general population during the COVID-19 pandemic: a systematic review and meta-analysis. Globalization and health, 16(1), 1-11.

World health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard Report. 25 May 2023 https://covid19.who.int/

Yoon, H. J., Choi, J. W., Jang, S. Y., Lee, S. A., & Park, E. C. (2017). The effect of job loss on depressive symptoms: The results from the Korean Welfare Panel Study (2007-2013). International Journal of Social Psychiatry, 63(1), 57-62.