การพัฒนาระบบค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกลุ่มผู้สุงอายุในชุมชนเมืองนครราชสีมาด้วยเทคโนโลยีเคลื่อนที่และการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

Main Article Content

รณชัย ชื่นธวัช
ศิริพร เลิศยิ่งยศ
ภัทรีญา ชุมชิต

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและขั้นตอนวิธีการค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเมืองนครราชสีมา 2) เพื่อพัฒนาระบบค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเมืองนครราชสีมา และ 3) เพื่อประเมินผลระบบค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเมืองนครราชสีมา


               วิธีการศึกษา : การพัฒนาระบบค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกลุ่มผู้สุงอายุในชุมชนเมืองนครราชสีมา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพัฒนาด้วยรูปแบบการพัฒนาระบบแบบน้ำตก โดยสำรวจและศึกษาบริบทภาวะซึมเศร้าของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของศูนย์แพทย์ชุมชนวัดบูรพ์ จากนั้นพัฒนาระบบค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้าฯ ในรูปแบบของแอปพลิเคชันที่ทำงานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และประเมินผลการพัฒนาระบบด้วยแบบประเมินความพึงพอใจ 5 ระดับ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในสังกัดโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จำนวน 20 ราย


               ผลการศึกษา : การศึกษาวิธีคัดกรองภาวะซึมเศร้า พบว่า การคัดกรองภาวะซึมเศร้าใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าที่นำคำตอบของผู้รับการประเมินมาเปลี่ยนเป็นระดับคะแนนและระดับภาวะซึมเศร้า ส่วนการพัฒนาระบบค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้า ได้ใช้รูปแบบการพัฒนาระบบแบบน้ำตก ในการพัฒนาเป็นแอปพลิเคชัน “ประเมินซึมเศร้า NRRU” ที่ทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และการประเมินผลการพัฒนาระบบฯ พบว่า ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” ทุกรายการ โดยมีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ อยู่ระหว่าง 4.40 - 4.80


               สรุป : ระบบค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้าของงานวิจัยนี้ ได้พัฒนาเป็นแอปพลิเคชัน “ประเมินซึมเศร้าNRRU” โดยอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถใช้แอปพลิเคชัน “ประเมินซึมเศร้า NRRU” เพื่อค้นหาและคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกษร สายธนู, อมรรัตน์ นธะสนธิ์, และ เกษราภรณ์ เคนบุปผา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(3), 42-55.

จันทร์ทิรา เจียรณัย. (2559). การพัฒนาโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล : การวิจัยนำร่อง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนี นครราชสีมา, 22(2), 93-110.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห, และ จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. (2561). ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(4), 321-334.

ธีรภัทร์ ลักษณียนาวิน, และ เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 59-73.

ประกายเพชร วินัยประเสริฐ, และ จิณพิชญ์ชา มะมม. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยคำนวณอาหารที่จำเป็นต่อวัน (NuTu-App) เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(3), 485-498.

ปัญญา ยืนยงตระกูล, พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, นันทิยา เอกอธิคมกิจ, และ ฐิติมา สงวนวิชัยกุล. (2566). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วย จิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 37(2), 1-21.

ปิติคุณ เสตะปุระ, และ ณัฐธกูล ไชยสงคราม (2565). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 1070-1084.

ภัคจิรา ภูสมศรี. (2563). โรคซึมเศร้าปัญหาสุขภาพใกล้ตัว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 51-58.

วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, ญาดาภา โชติดิลก, และ นิตยา ทองหนูนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 52-62.

ศริญญา ชาญสุข, และ สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าของวัยทำงานในสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 37(3), 76-91.

สุชาดา แซ่ลิ่ม. (2562). การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองจังหวัดระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33(1), 193-202.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, ธรณินทร์ กองสุข, ณรงค์ มณีทอน, เบญจลักษณ์ มณีทอน, กมลเนตร วรรณเสวก, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, และ สิรีธร บุตรวงศ์. (2550). การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด 2 คำถาม ในชุมชนไทยอิสาน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 52(2), 138-148.

Armbrust, M., Fox, A., Griffith, R., Joseph, A.D., Katz, R., Konwinski, A., Lee, G., Patterson, D., Rabkin, A., Stoica, M., & Zaharia, M. (2010). A view of cloud computing. Communications of the ACM. 53(4), 50-58.

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. McGraw-Hill.

Royce, W.W. (1970). Managing the Development of Large Software Systems. Proceedings of IEEE WESCON, 26, 328-388.

Samrgandi, N. (2021). User Interface Design & Evaluation of Mobile Applications. International Journal of Computer Science and Network Security. 21(1), 55-63.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.