ผลของโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน EFFECT OF SENSE OF COHERENCE PROMOTING PROGRAM ON QUALITY OF LIFE OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS’ CAREGIVERS IN A COMMUNITY
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกต่อคุณภาพชีวิต ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ใช้แนวคิดความเข้มแข็งในการมองโลกของแอนโทนอฟสกี้ (Antonovsky, 1982) เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนในเขตสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว จำนวน 50 คน โดยจับคู่ด้านเพศ อายุ และระยะเวลาการดูแลผู้ป่วย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละจำนวน 25 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลก ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 6 ครั้ง ทำกิจกรรม 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 60-120 นาที
ผลการศึกษา: 1. ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
2. หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุป: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาความเข้มแข็งในการมองโลกของผู้ดูแลเพื่อคงไว้และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล
Objective: This study aimed to examine the effect of sense of coherence promoting program on quality of life of schizophrenic patients’caregivers in community.
Methods: This study was a quasi - experimental research. The sense of coherence theory (Antonovsky, 1982) was used as a theoretical framework to develop the program. Sample was 50 caregivers of schizophrenic patients in a community in the Klonghad District Health Office, Sa Kaeo province. They were divided into experimental and control group and were matched by sex, age, and term of patients care, 25 per group. The control group received routine care, while the experimental group received sense of coherence promoting program. The program comprised of six sessions of 60-120 minutes lesson, one day per week.Data were analyzed using descriptive and t-test statistics.
Results: 1. The mean score of quality of life of schizophrenic patients’ caregivers in community receiving the sense of coherence promoting program after experiment was significantly higher than before participating in the program (p <. 05).
2. After experiment, the mean score of quality of life of schizophrenic patients’ caregivers in community receiving the sense of coherence promoting program was significantly higher than those of control group (p < .05).
Conclusion: Results from this study revealed that the sense of coherence promotingprogram can increase quality of life of schizophrenia patients’ caregivers. Therefore,the sense of coherence promoting program should be applied in order to maintain and enhance the quality of life of schizophrenia patients’ caregivers.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย