ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและการทำหน้าที่ในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า EFFECT OF COGNITIVE BEHAVIOR THERAPY ON DEPRESSIONAND FUNCTIONING OF ELDERLY PATIENTS WITH DEPRESSION

Main Article Content

วัชรี แสงสาย
รังสิมันต์ สุนทรไชยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและการทำหน้าที่ของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าที่ได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอายุ 60 ปี ขึ้นไป แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน ผู้วิจัยพัฒนาเนื้อหาการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยบูรณาการประสบการณ์เดิม แก่นความเชื่อ ความเชื่อเฉพาะกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างรุ่น คุณค่าของบทบาทของผู้สูงอายุ สภาพสังคมวัฒนธรรม เชื่อมโยงกับความคิดอัตโนมัติด้านลบและภาวะซึมเศร้า เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย 3) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบคฉบับภาษาไทย 4) แบบประเมินการทำหน้าที่โดยรวม 5) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติทางลบ และ 6) แบบวัดความสามารถในการแก้ไขปัญหาประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติที

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่การทำหน้าที่ของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. หลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่การทำหน้าที่ของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าที่ได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Objective: The purpose of the quasi-experimental research was to examine depressive and functional scores of elderly patients with depression age over 60 year olds who received Cognitive Behavioral Therapy (CBT).

Methods: Forty samples were elderlypatients who were diagnosed with depressive disorder at the outpatient department. The samples were matched pair and randomly assigned into the experimental and the control group, 20 in each group. The CBT in late-life depression was integrated with early experiences, core belief, cohort belief, intergeneration linkages, role value, sociocultural context, negative automatic thought, and depression. The research instruments were 1) Demographic questionnaire, 2) MMSE-Thai 2002, 3) Beck Depressive Inventory scale (Thai version), 4) The Global Assessment of Functioning Scale(GAF), 5) Automatic Thought scale, and 6) The Daily Problem-Solving Ability Assessment. The descriptive statistics and t-test were used for data analysis.

Results: Major findings were as follows: 1. The depression mean score of elderly patients with depression after receiving CBT was significantly lower than those before(p < .05), whereas the functioning mean score was significantly higher than those before(p < .05).

2. The depression mean score of elderly patients with depression who received CBT was significantly lower than those who received the regular nursing activities (p < .05), whereas the functioning mean score was significantly higher than those who received the regular nursing activities (p < .05)

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วัชรี แสงสาย, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา

รังสิมันต์ สุนทรไชยา, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย