การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูภาวะวิกฤตสุขภาพจิตสำหรับสตรีหม้ายที่เผชิญอาการโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญจากสถานการณ์ความรุนแรงชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย THE DEVELOPMENT OF MENTAL HEALTH CRISIS REHABILITATION MODEL FOR WIDOWS WHO FACED PTSD SYMPTOMS FROM UNREST
Main Article Content
บทคัดย่อ
Objectives: The purpose of this research and development was to develop and evaluate the effectiveness of mental health crisis rehabilitation model for widows who faced PTSD symptoms from unrest situation.
Methods: The study was conducted in six stages: 1) studying and reviewing literature, 2) developing the research instruments, 3) developing the mental health crisis rehabilitation model,4) validating the developed model by experts, 5) implementing the model and 6) evaluating the effectiveness of the model.There were 2 groups of participants including 1) team of experts which included 4 nurses, 2 psychologists, and 2 social workers, and 2) 30 widows who faced PTSD symptoms. Research instruments consisted of 1) the personal data questionnaire, 2) a scale for assessing PTSD symptoms, and 3) the semi-structure interviews for PTSD. Content analysis, percentage, mean, and t-test were used for data analysis.
Results: Major findings were as follows:
1. The mental health crisis rehabilitation model comprised of 5 activities including 1) PTSD understanding symptom and response 2) promoting of the psychological strengths 3) enhancing self-esteem and hope for life 4) coping with loss, and 5) understanding of health care team toward the problems and obstacles in caring for the widows who faced with PTSD.
2. For the effectiveness of the model, the PTSD symptoms of the widows after having received the mental health crisis rehabilitation model were significantly lower than those before and those who received the usual care.
Conclusion:The result of this study provides important information to the health care provider and healing team for rehabilitating the widows who faced PTSD symptoms from unrest situation in deep southern Thailand in the future.
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) เพื่อการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูภาวะวิกฤตสุขภาพจิตของสตรีหม้ายที่เผชิญโรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ จากสถานการณ์ความรุนแรงชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย
วิธีการศึกษา: ใช้การศึกษา 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นศึกษาเอกสารงานวิจัย 2) ขั้นพัฒนาเครื่องมือวิจัย 3) ขั้นสร้างรูปแบบการฟื้นฟูภาวะวิกฤตสุขภาพจิต 4) ขั้นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบรูปแบบ 5) ขั้นนำรูปแบบที่ได้ไปใช้ และ 6) ขั้นประเมินผลรูปแบบกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มทีมผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 4 คน นักจิตวิทยา 2 คน และนักสังคมสงเคราะห์ 2 คน และ 2) กลุ่มสตรีหม้ายที่เผชิญโรคเครียดหลังเกิด เหตุการณ์สะเทือนขวัญ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการ PTSD และแบบสัมภาษณ์เชิงกึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบโดยใช้การทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการฟื้นฟูภาวะวิกฤตสุขภาพจิตของสตรีหม้ายที่เผชิญโรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์ สะเทือนขวัญจากสถานการณ์ความรุนแรงชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม คือ 1) การเข้าใจต่อปฏิกิริยา และการตอบสนองในภาวะวิกฤตของอาการ PTSD 2) การส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจ 3) การเพิ่มคุณค่าและ ความหวังในการดำเนินชีวิต 4) การมีแนวทางการเผชิญภาวะสูญเสีย และ 5) การเข้าใจปัญหาและ อุปสรรคในการเยียวยาของบุคลากรด้านสุขภาพ และทีมเยียวยา
2. จากการทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการฟื้นฟูภาวะวิกฤตสุขภาพจิตฯต่ออาการโรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ พบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมสตรีหม้ายที่เผชิญโรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญมีอาการของโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญน้อยกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมและน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001
สรุป: ผลจากการศึกษานี้เป็นข้อมูลสำคัญ ที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับทีมผู้ดูแลสุขภาพและเยียวยาจิตใจของสตรีหม้ายที่เผชิญโรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญจากสถานการณ์ความรุนแรงชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย