ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง THE EFFECT OF RESILIENCE ENHANCING PROGRAM ON DEPRESSION OF NURSING STUDENTS AT A NURSING COLLEGE

Main Article Content

อายุพร กัยวิกัยโกศล
สุทธามาศ อนุธาตุ
พัชรินทร์ นินทจันทร์

บทคัดย่อ

Objective: This quasi-experimental research aimed at investigating the effect of resilience enhancing program on depression of nursing students at a nursing college.

Methods: The nine students of the first year nursing students were purposively selected based on the inclusion criteria. The research instruments were 1) Resilience Enhancing Program developed by Nintachan et al. (2012), 2) Health-Related Self-Reported (HRSR) Scale (the Diagnostic Screening Test for Depression in Thai Population), and 3) Resilience Inventory. Descriptive statistics and repeated measures ANOVA were used for the data analyses.

Results: The result of this research revealed that the depression mean score of nursing students after and 6 months after participating in Resilience Enhancing Program were significantly different from that before. Additionally, the depression mean score of nursing students after participating in the program were not significantly different from that after 6 months.

วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 9 คน ที่คัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตที่พัฒนาโดย พัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ (2555) 2) แบบสอบถามปัญหาสุขภาพสำหรับค้นหาโรคซึมเศร้าในประชากรไทย และ 3) แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวน เมื่อมีการวัดซ้ำ(repeated measures ANOVA)

ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาระหว่างก่อนได้รับโปรแกรมฯ หลัง ได้รับโปรแกรมฯทันที และระยะติดตามผลหลังได้รับโปรแกรมฯ เดือนที่ 6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาหลังได้รับโปรแกรมฯ ทันที และระยะติดตามผลหลังได้รับโปรแกรมฯเดือนที่ 6 ไม่มีความแตกต่างกัน

 

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อายุพร กัยวิกัยโกศล, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

สุทธามาศ อนุธาตุ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์