ประสบการณ์การสร้างเสริมสุขภาพจิตตามหลักศาสนาอิสลามของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยมุสลิมที่อยู่ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ MENTAL HEALTH PROMOTION EXPERIENCES BASED ON ISLAMIC PRINCIPLES AMONG THAI MUSLIM UNIVERSITY STUDENTS, WHO ENCOUNTER WITH UNREST SITUATION

Main Article Content

ศรีสุดา วนาลีสิน
วีณา คันฉ้อง
วินีกาญจน์ คงสุวรรณ

บทคัดย่อ

Objective: To describe emotional response and mental health promotion experiences of Thai Muslim students who encountered with unrest situation.

Methods: This study was descriptive qualitative research. Fourteen participants were Thai Muslim university students purposively selected based on the following inclusion criteria; 1) having their loved ones (e.g., fathers, mothers, and closed relatives) died or were injured by unrest situation and 2) having normal metal health, which evaluated by the Thai Mental Health Indicators. Data were collected using semi-structured interview guideline and in-depth interview. Data were analyzed using content analysis and validated by experts and participants.

 Results: Content analysis revealed that after perceiving the tragedy event, the students initially felt shocked and denied the events. The later emotional response was variously mixed up with sadness, anger, fear, and worry if the unrest event would occur again. The students needed time for recovery through Islamic - based mental health promotion for being calm-mind, mentally strong, leading to solutions and happiness. Islamic - based mental health promotion involves open minds to accept Allah’s ascription and the test for patients and faith and confidence in Allah, and was done as follows: remembrance of Allah, surrender to Allah, be patient to Allah’s testing, pray for mercy, read Quran and forgive the unrest doer because of the beliefs in Allah’s testing and making a good deed.

 Conclusion: The findings could be guided nurses to care for others suffering from the unrest situation.

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การตอบสนองทางอารมณ์และการสร้างเสริมสุขภาพจิตของนักศึกษาไทยมุสลิมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูล 14 คน เป็นนักศึกษาไทยมุสลิม เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ1) มีบิดา มารดา หรือญาติใกล้ชิดเสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และ 2) มีสุขภาพจิตระดับปกติ ประเมินด้วยแบบ ทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบโดยผู้ให้ข้อมูลและผู้ทรงคุณวุฒิ

ผลการศึกษา: ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า หลังรับทราบเหตุการณ์สะเทือนใจ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เกิดความตื่นตระหนก ไม่ยอมรับว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง และมีการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเหตุการณ์ในลักษณะเศร้าเสียใจ โกรธ กลัว/กังวลว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอีก ผู้ให้ข้อมูล ทุกคนยอมรับว่าต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว และ สร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อให้จิตใจสงบเข้มแข็ง มีแนวทางแก้ปัญหาและมีความสุข โดยการเปิดใจยอมรับข้อกำหนด และการทดสอบความอดทน ของอัลลอฮฺ ศรัทธาและเชื่อมั่นต่ออัลลอลฮฺ และ ปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพจิตตามหลักศาสนาอิสลามโดยการระลึกถึงอัลลอฮฺตลอดเวลา มอบตน และอดทนกับการทดสอบของอัลลอฮฺ การละหมาด ขอพร การอ่านคัมภีร์อัลกรุอาน การให้อภัยผู้กระทำเพราะเชื่อว่าเป็นการทดสอบของอัลลอฮฺ และการทำความดีในการดำเนินชีวิต

สรุป: ผลการศึกษาช่วยให้พยาบาลมีแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตตามหลักศาสนาอิสลามให้กับนักศึกษาไทยมุสลิม ที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ความไม่สงบต่อไป

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศรีสุดา วนาลีสิน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช

วีณา คันฉ้อง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช

วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช