ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่น FACTORS RELATED TO RESILIENCE IN ADOLESCENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
Objective: To investigate relationships between self-esteem, emotional quotient, family atmosphere, relationships with friends, and social support and resilience in adolescents.
Methods: This study was a descriptive correlational research. Participants were 403 junior secondary school students in Chantaburi province studying in the first semester of the academic year, 2014. The research instruments including a demographic data questionnaire, Resilience Inventory, Rosenberg Self-Esteem Scale, Emotional Quotient Questionnaire, Family Atmosphere Questionnaire, Peer Relationship Questionnaire, and Personal Resource Questionnaire (PRQ-85 part II) were used for data collection. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, Pearson’s product-moment correlation, and Spearman’s rank-order correlation.
Results: The findings revealed that self-esteem, emotional quotient, family atmosphere, relationship with friends and social support were positively and significantly related to resilience (p < .001). Results from this study could be applied to promote resilience in adolescents.
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความมีคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ บรรยากาศในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และแรงสนับสนุนทางสังคม กับความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่น
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จาก 5 โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี จำนวน 403 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต แบบสอบถามความมีคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบสอบถามบรรยากาศในครอบครัว แบบสอบถามสัมพันธภาพกับเพื่อน และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยความมีคุณค่าในตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์ บรรยากาศในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และแรงสนับสนุนทางสังคมในวัยรุ่น มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความแข็งแกร่งในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลจากการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่นต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย