ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย RELATIONSHIPS BETWEEN RESILIENCE QUOTIENT (RQ) AND PERCEIVED SELF – EFFICACY

Main Article Content

เครือวัลย์ ศรียารัตน์
วีณา เจี๊ยบนา

บทคัดย่อ

Objectives: The purposes of this correlational study were 1) to describe of Resilience Quotient (RQ) and perceived self – efficacy of senior nursing students, and 2) to investigate the correlation between Resilience Quotient (RQ) and perceived self – efficacy and academic achievement in psychiatric nursing practicum course of senior nursing students.

Methods: The accessible population consisted of 180 nursing students of the Thai Red Cross College of Nursing in academic year 2012. Research instruments consisted of 1) Resilience Quotient questionnaire developed by department of mental health, ministry of public health, and 2) perceived self – efficacy in psychiatric nursing practicum course questionnaire developed by researcher. All questionnaires were content validated by panel of experts. Cronbach’s alpha were at .85, and .95, respectively. Frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficients were employed to analyze the data.

 Results: Results were showed as follows:

 1) An average score of resilience quotient of senior nursing students was in the normal level (mean= 64.38, SD = 5.46).

 2) An average score of perceived self – efficacy in psychiatric nursing practicum course of senior nursing students was in the high level (mean= 3.90, SD = 0.40).

 3) Resilience Quotient had a significant positive correlation with perceived self – efficacy in psychiatric nursing practicum course of senior nursing students (r =.26, p < .001).

4) Resilience Quotient had a significant positive correlation with academic achievement in psychiatric nursing practicum course of senior nursing students (r =.05, p < .001).

Conclusion: The findings suggest that Resilience Quotient is important and should be promoted to enhance perceived self – efficacy and academic achievement in psychiatric nursing practicum course.

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับพลังสุขภาพจิต การรับรู้ความสามารถของตนเอง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างพลังสุขภาพจิต กับการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4

วิธีการศึกษา: ประชากรตัวอย่าง (accessible population) คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัย พยาบาลสภากาชาดไทย ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบ ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบประเมินพลังสุขภาพจิต พัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชพัฒนาโดยผู้วิจัย เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และจากการหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้สัมประสิทธ์ แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือเท่ากับ .85 และ .95 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยของพลังสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติ (mean= 64.38, SD = 5.46)

2. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชอยู่ในระดับมาก (mean= 3.90, SD = 0.40)

3. พลังสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวก กับการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.26, p < .001)

4. พลังสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวก กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาล จิตเวชของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.05, p < .001)

สรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพลัง สุขภาพจิตมีความสำคัญอย่างยิ่งและควรมีการเสริมสร้างเพื่อให้นักศึกษามีการรับรู้ความสามารถของตนเองและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชที่ดีขึ้น

 

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เครือวัลย์ ศรียารัตน์, ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

อาจารย์

วีณา เจี๊ยบนา, ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์