คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทย (SSI-Thai Version 2014) PSYCHOMETRIC PROPERTIES OF THE THAI VERSION OF THE SCALE FOR SUCIDAL IDEATION (SSI-THAI VERSION 2014)

Main Article Content

ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
เกสร มุ้ยจีน

บทคัดย่อ

Objectives: Suicide is a global challenge. It poses a serious public health problem worldwide and becomes the tenth most common cause of death in the world. In Thailand, the suicide rate has increased continuously. Screening for suicidal ideation is important since it can be used to prevent suicide behavior. The objective of this research was to test the psychometric properties of the Scale for Suicide Ideation, Thai version (SSI-Thai Version 2014).

Methods: 200 individuals aged between 18-60 years who had exhibited suicide behavior were purposively selected from the Bangkok metropolitan area. The 19 Items of the Scale for Suicide Ideation in a Thai Version 2014 (SSI-Thai Version 2014) was used in this project. Frequency, percentage, content validity index, Cronbach’s alpha coefficient, and item discrimination were used for data analyses.

 Results: The major findings were as follows. Most of the samples were single females aged between 18-29 years, were at the undergraduate level, and had indigent economic status. Results from the instrument testing showed that the SSI-Thai Version 2014 had content validity index (CVI) of .89. The Cronbach’s alpha coefficient of the instrument was .81. An index of item discrimination was more than 2.

 Conclusion: The results showed that SSI-Thai Version 2014 had high quality accordingly with the original version and was able to assess suicidal ideation in the general population.

วัตถุประสงค์: การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่ท้าทายและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบสุขภาพทั่วโลก ปัจจุบันการฆ่าตัวตายกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 1 ใน 10 ของการเสียชีวิตทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การคัดกรองความคิดฆ่าตัวตายเพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมทำร้ายตนเองจึงมีความสำคัญมาก การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทย (SSI-Thai Version 2014)

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน อายุ 18-60 ปี จำนวน 200 ราย ที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายแบบต่าง ๆในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล โดยได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตาย ฉบับภาษาไทย (SSI-Thai Version 2014) จำนวน 19 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคือ การวิเคราะห์หา ค่าความตรง ค่าความเที่ยง และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ

ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด อายุระหว่าง 18- 29 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีสถานะทางเศรษฐกิจไม่พอใช้ ในส่วนของการทดสอบแบบ ประเมิน SSI-Thai Version 2014 พบค่าความตรงเชิงเนื้อหา = .89 ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ (Cronbach’s alpha coefficient) = .81 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อมากกว่า 2

 สรุป: แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทยที่ได้จากการศึกษานี้ เป็นแบบประเมินฉบับหนึ่งที่มีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานของแบบประเมินต้นฉบับ และสามารถนำไปใช้ประเมินความคิดฆ่าตัวตายในกลุ่มประชากรทั่วไป

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปริยศ กิตติธีระศักดิ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์

เกสร มุ้ยจีน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์