ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิต ตราบาป ความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท RELATIONSHIPS BETWEEN RESILIENCE, STIGMA, KNOWLEDGE, SOCIAL SUPPORT AND PERSONAL FACTORS AND CAREGIVERS’ BURDEN

Main Article Content

เขมณัฏฐ์ ศรีพรหมภัทร์
พัชรินทร์ นินทจันทร์
โสภิณ แสงอ่อน

บทคัดย่อ

Objective: This study aimed at investigating relationships between resilience, stigma, knowledge, social support and personal factors and caregivers’ burden of schizophrenia patients.

Methods: This study was a descriptive correlational research. The sample consisted of 233 caregivers of patients with schizophrenia who used the service in the Psychiatric outpatients department of a regional hospital in the Eastern Part of Thailand. Through purposive sampling, the sample was selected according to the inclusion criteria. Data were collected by using a personal data questionnaire, Zarit Burden Interview (ZBI), Resilience Inventory, Affiliate Stigma Scale, Knowledge of Caregivers’ Test, and Social Support Scale. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, Spearman’s rank-order correlation, and Chi-square.

Results: The findings revealed that care giver’s age, stigma, and knowledge were significantly and positively correlated with the burden on caregivers of schizophrenia patients (p < .05). Resilience and social support were significantly and negatively correlated with the burden on caregivers of schizophrenia patients (p < .05). There was no relationship between gender, income and education level and the burden on caregivers of schizophrenia patients. Results from this study could be applied to develop guidelines to reduce caregiver s’ burden of schizophrenia patients.

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิต ตราบาป ความรู้ เกี่ยวกับโรคจิตเภท แรงสนับสนุนทางสังคม และ ปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย ความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่แผนกจิตเวชผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ระหว่าง เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 233 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้สึกเป็นภาระในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต แบบประเมินตราบาปในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภทในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และแบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และไคสแควร์

ผลการศึกษา: อายุ ตราบาป ความรู้เกี่ยวกับ โรคจิตเภท มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความแข็งแกร่งในชีวิตและแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัย เพศ รายได้ และระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทผลจากการวิจัยสามารถนำไป เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะใช้ในการพัฒนาแนวทางการให้การช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเพื่อลดความรู้สึกเป็นภาระจากการดูแลผู้ป่วยจิตเภทต่อไป

 

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เขมณัฏฐ์ ศรีพรหมภัทร์, โรงพยาบาลเขาสุกิม

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

โสภิณ แสงอ่อน, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์