ผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการตีตราตนเองของผู้เป็นโรคจิตเภทในชุมชน THE EFFECT OF USING EMPOWERMENT PROGRAM ON SELF - STIGMA OF PERSONS WITH SCHIZOPHRENIA IN COMMUNITY

Main Article Content

สุธิสา ดีเพชร
เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

บทคัดย่อ

Objectives: The purpose of this quasi-experimental research was to compare the self-stigma of person with schizophrenia before and after their participation in the empowerment program, and to compare the self-stigma between persons with schizophrenia who participate in the empowerment program to those who participated in regular caring activities.

Methods: Research sample was thirty-six persons with schizophrenia who received services in the outpatient department at Psychiatric Hospital, who met the inclusion criteria. They were randomly assigned into experimental group and control group with 18 subjects in each group by matching the age and Positive/Negative Symptoms. The research instruments were the empowerment program developed by the researcher and the Self- Stigma of Mental illness Scale which translated into Thai by 2 bilingual professionals. These instruments were tested for content validity by panel of 5 experts. The reliability of the Self- Stigma of Mental illness Scale was .91. The t-test was used in data analysis.

Results: Major findings were as follows:

1. The self-stigma of persons with schizophrenia in community after participating the empowerment program were significantly lower than before, at the .05 level.

 2. The self-stigma of persons with schizophrenia in community who participated in the empowerment program were significantly lower than that of person with schizophrenia who participated in the regular caring activities, at the .05 level.

 วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการตีตราตนเองของผู้เป็นโรคจิตเภทในชุมชน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเพื่อเปรียบเทียบการตีตราตนเองของผู้เป็นโรคจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เป็นโรคจิตเภทที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวช จำนวน 36 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 18 คนจับคู่ด้วยอายุและคะแนนกลุ่มอาการทางบวกทางลบ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และแบบวัดการตีตราตนเอง ซึ่งแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญสองภาษาจำนวน 2 คน ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดตีตราตนเองเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ทดสอบค่าที (t-test)

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. การตีตราตนเองของผู้เป็นโรคจิตเภทในชุมชนภายหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. การตีตราตนเองของผู้เป็นโรคจิตเภทในชุมชนที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุธิสา ดีเพชร, กลุ่มภารกิจบริการทางการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์