ผลของโปรแกรมกลุ่มแบบหลายครอบครัวต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน THE EFFECT OF MULTIPLE FAMILY GROUP PROGRAM ON FUNCTIONING OF SCHIZOPHRENIC PATIENT IN COMMUNITY
Main Article Content
บทคัดย่อ
Objectives: The purpose of this quasi-experimental research was to compare the functioning of schizophrenia patients in community before and after receiving the multiple family group program, and compare the functioning of schizophrenia patients in community who received multiple family group program and those who received regular care.
Methods: Forty families of schizophrenia patients living in community were randomly assigned to experimental and control group, 20 family participants in each group. The control group received normal care. The experimental group participated in the multiple family group program developed by researcher based on McFarlane et al. (1995). The program comprises of five sessions conducted once a week, 120 minutes per session. The program included knowledge on schizophrenia, early warning sign, emotional management, daily life skills, and finding sources of social support. The t-test was used in data analysis.
Results: Major findings were as follows:
1. The functioning of schizophrenia patients in community who received the multiple family group program was significantly higher than that before, (p < .05).
2. After experiment, the functioning of schizophrenia patients in community who received the multiple family group program was significantly higher than those who received regular care (p < .05).
วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทก่อน และหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มแบบหลายครอบครัวและเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภท ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯกับกลุ่มที่ดูแลตามปกติ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ ครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท 40 ครอบครัว สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 20 ครอบครัว กลุ่มทดลองจะได้รับการดูแลตามโปรแกรมฯที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของ Mcfarlane et al. (1995) มีกิจกรรม 5 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 120 นาที เพื่อให้ความรู้โรคจิตเภท การจัดการอาการเตือน การจัดการอารมณ์ ทักษะในชีวิตประจำวัน และการค้นหาแหล่งสนับสนุน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแล ตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้
1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน หลังได้รับโปรแกรมฯสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. หลังการทดลองการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่ากลุ่มที่ดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย