การดูแลตนเองของพยาบาลตามหลักศาสนาอิสลาม SELF-CARE OF NURSES BASED ON ISLAMIC SCRIPTURE
Main Article Content
บทคัดย่อ
The objective of this article was to review literature in relation to self-care of Muslim nurses based on Islamic scripture as well as described self-care framework which integrates with Islamic scripture. We reviewed three well-known nurses’ conceptualizes about self-care, then analyzed each concept in order to select one conceptualize that showed the most applicable to Islamic scripture and integrated Islamic scripture into nurses’ self-care.
We found that from the three nurses’ conceptualizes about self-care, concept of self-care patterns by Walker, Sechrist, and Pender (1987) covered a holistic nurses’ self-care (bio-psycho-social and spiritual) which harmonized with the six Islamic scriptures: 1) self-care to be being Muslim’s actualization, 2) awareness of self-care is an obligation, 3) physical exercise must be according with Islamic scripture, 4) eating food that is halal and benefit, 5) attachment to Allah should be according to his acceptances; and 6) stress management should be according with Islamic scripture.
From this article, the six categories of self-care based on integrative concept of self-care patterns by Walker, Sechrist, and Pender and Islamic scripture are suggested for nurses’ self-care, in particular for Muslim nurses. We also suggest Muslim nurse to use the six categories of self-care as a role model to promote health in Muslim patient.
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเรื่องการดูแลตนเองของพยาบาล ตามหลักศาสนาอิสลาม รวมทั้งอธิบายกรอบแนวคิดการดูแลตนเองที่ผสมผสานหลักศาสนาอิสลาม บทความนี้ได้ทบทวนและวิเคราะห์การดูแลตนเองของพยาบาล 3 กรอบแนวคิด เพื่อเลือกแนวคิดที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามและบูรณาการหลักศาสนาอิสลามเข้ากับการดูแลตนเอง พบว่าการดูแลตนเอง ตามกรอบแนวคิดของ วอล์คเกอร์ เซคคริส และเพนเดอร์ (Walker, Sechrist, & Pender, 1987) ครอบคลุมการดูแลตนเองของพยาบาลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตอิสลามตามการดูแลตนเอง 6 ด้าน คือ 1) การดูแลตนเองเพื่อให้เป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ 2) การตระหนักในหน้าที่ที่ต้องดูแลสุขภาพ 3) การออกกำลังกายที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม 4) การรับประทานอาหารที่ ฮาลาลและต็อยยิบ 5) การมีความผูกพันกับอัลลอฮฺในแบบที่พระองค์เห็นชอบ และ 6) การจัดการกับความเครียดตามหลักศาสนาอิสลาม จากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าว สามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลมุสลิมในการดูแลตนเอง สอนและเป็นแบบอย่างให้กับผู้รับบริการมุสลิมที่ต้องดูแลตนเองให้สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามเพื่อให้มีสุขภาพดีต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย