ผลของกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข ต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคซึมเศร้า THE EFFECTS OF GROUP HAPPY REMINISCENCE THERAPY ON DEPRESSIVE SYMPTOMS IN THAI OLDER PEOPLE WITH MAJOR DEPRESSIVE DISORDER

Main Article Content

วาสนา เหล่าคงธรรม
สุปราณี พิมพ์ตรา
ธรณินทร์ กองสุข
สมพร รุ่งเรืองกลกิจ

บทคัดย่อ

Objectives: The objective of this study was to test efficacy of group happy reminiscence therapy (HRT) on depressive symptoms, quality of life, and overall health status in Thai older people with depressive disorders by compare to group supportive therapy (ST).

Methods:This research used a randomized controlled trial based on experimental and control group (ST groups). Participants were thirty Thai older people with mild to moderate level of depressive symptoms. They were randomly allocated into experimental and control group with 15 subjects in each group. Both HRT and ST groups consists of 6 sessions. The data were collected before and after the therapy. Research instruments used in this study were 9-Q depression assessment, HRSD-17, EQ-5D-5L, and VAS. Chisquare and t-test were used to analyze the data.                                                                                                  

Results: Older persons in experimental group had significantly higher mean decreasing depression score than those in the control group. While no significant differences between 2 groups regarding mean decreasing score of HRSD-17, mean increasing score of quality of life, and mean increasing score of overall health status were found. The subjects’ remission rates of both groups were about 80 percent and RR = 1 (95% CI = .70 - 1.43).

Conclusion: Group HRT can reduce level of depressive symptoms in Thai older people with depressive disorders more than ST but the increasing quality of life and overall health status were not significantly difference.

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบประสิทธิผลของกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข (HRT) ต่ออาการซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มบำบัดประคับประคอง (ST)

วิธีการศึกษา:เป็นการวิจัยแบบทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางจำนวน 30 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่บำบัดด้วย ST กลุ่มละ 15 คน บำบัด 6 ครั้ง วัดผลก่อนและหลังการบำบัดครั้งสุดท้ายด้วยแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม และ HRSD-17 แบบวัดคุณภาพชีวิตด้วย (EQ-5D-5L) และแบบประเมินสภาวะสุขภาพ (VAS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย chi-square และ t-test

ผลการศึกษา: 1) ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลอง HRT มีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าที่ลดลงมากกว่ากลุ่ม ST อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของค่าเฉลี่ยของคะแนน HRSD-17 ที่ลดลง ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพโดยรวมที่เพิ่มขึ้น 3) ทั้งสองกลุ่มมีอัตราการหายจากอาการซึมเศร้าร้อยละ 80 มีค่า RR เท่ากับ 1(95% CI = .70-1.43)

สรุป: HRT มีผลลดอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยได้มากกว่า ST อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่การเพิ่มคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพโดยรวมได้ไม่แตกต่างจากกลุ่ม ST

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วาสนา เหล่าคงธรรม, โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รองผู้อำนวยการด้านการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

สุปราณี พิมพ์ตรา, โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ธรณินทร์ กองสุข, นายแพทย์เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

นายแพทย์เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์  และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น