ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น EFFECT OF THE RESILIENCE - ENHANCING PROGRAM IN JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS

Main Article Content

กานดา นาควารี
พัชรินทร์ นินทจันทร์
โสภิณ แสงอ่อน

บทคัดย่อ

Objective: To investigating the effects of the Resilience - Enhancing Program in junior high school students.

Methods: This study was a quasiexperimental study. Sample consisted of 58 Mathayomsuksa 1 students who were studying in the second semester of the academic year 2014 from two schools (29 in the experimental group and 29 in the control group) in Angthong Province. The Resilience Enhancing Program developed by Patcharin Nintachan et al. (B.E. 2555) consisting of six sessions was used to conduct the study. The instrument for data collection is Resilience Inventory. Descriptive statistics and t-test were used for data analyses.

Results: The findings revealed that the mean score of resilience of the students after participating in The Resilience-Enhancing Program was higher than that before participating in the program with statistical significance (p < .05). When comparing between the experimental group and the control group after participating in the program, the mean score of resilience of the students in the experimental group was higher than that in the control group with statistical significance (p < .05). Results from this study are beneficial to promote resilience among junior high school students for preparing to face adversity of life.

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

วิธีการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557ของโรงเรียน 2 โรงเรียน ในจังหวัดอ่างทอง โรงเรียนละ 29 คน เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โปรแกรมที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1)โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต ที่พัฒนาโดยพัชรินทร์ นินทจันทร์และคณะ (2555) 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3)แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิตซึ่งพัฒนาโดยพัชรินทร์ นินทจันทร์และคณะ (2555) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการทดสอบค่าที

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความแข็งแกร่งในชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีความแข็งแกร่งในชีวิตเพื่อเตรียมพร้อมในการเผชิญเหตุการณ์วิกฤติต่าง ๆ ในชีวิตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กานดา นาควารี, โรงพยาบาลป่าโมก

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลป่าโมก

พัชรินทร์ นินทจันทร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

โสภิณ แสงอ่อน, มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล