ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวแก่ผู้ดูแลกับการลดภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน THE EFFECT OF FAMILY COUNSELING PROGRAM ON BURDEN OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS’ CAREGIVERS

Main Article Content

สมกมล อรรคทิมากูล
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย

บทคัดย่อ

Objectives: The purposes of this quasi-experimental research were to compare the burden of schizophrenic patients’ caregivers before and after receiving family counseling program and compare the burden of schizophrenic patients’ caregivers who received family counseling program, and those who received regular caring activities. 

Methods:Thirty families of schizophrenic patients were recruited according to the inclusion criteria from the outpatient psychiatric clinic in a provincial hospital and were assigned into experimental and control groups with 15 subjects each. Research instruments were family counseling program and the caregiver burden scale. These instruments were examined for content validity by 5 psychiatric experts. The reliability of the scales by Chronbach’s Alpha coefficients was .96. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test. 

Results:Major finding were as follow: 1. The burden of schizophrenic patients’ caregivers who received family counseling program after the experiment was significantly lower than that before at the .05 level. 2. After the experiment, the burden of schizophrenic patients’ caregivers who received family counseling program was significantly lower than that of who received regular caring activities at the .05 level.                                              

วัตถุประสงค์:การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรม การให้คำปรึกษาครอบครัวและเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษากับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยจิตเภทมารับการรักษาคลินิกจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรม การให้คำปรึกษาครอบครัวและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที (t-test)

ผลการศึกษา:ผลการศึกษาที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว ตำ่กว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2. ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สมกมล อรรคทิมากูล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาดหญ้า กาญจนบุรี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย