ปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท PREDICTING FACTORS OF EXPRESSED EMOTION IN FAMILY CAREGIVERS OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
Objectives: 1) To study expressed emotion in family caregivers of schizophrenic patients and 2) To determine the predictors of expressed emotion of family caregivers of schizophrenic patients.
Methods:This study was a descriptive research. Subjects were 180 family caregivers of schizophrenic patients receiving mental health treatments in outpatient unit of hospital under mental health department. Research instruments consisted of 10 parts (severity of illness of patient, social functioning scale of patient, Beck depression inventory, objective burden scale, subjective burden scale, problem focused coping strategies, patient care ability, sense of suffering, negative expressed emotion, and positive expressed emotion in family caregivers. Data were analyzed using mean, SD, and stepwise multiple regression.
Results: 1) Negative and positive expressed emotion aspects of family caregivers of schizophrenic patient were at the appropriate level. 2) Perceived subjective burden, problem focus coping strategies, sense of suffering, and caregiver’s depression could jointly explain 36.2% of variance in negative expressed emotion (p < .05). Patient care ability and perceived severity of illness could jointly explain 29.1% of variance in positive expressed emotion (p < .05).
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท 2) เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรในครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลในครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความรุนแรงของอาการทางจิต
การทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล ภาระการดูแลเชิงปรนัย ภาระการดูแลเชิงอัตนัย การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ความทุกข์ทรมานของผู้ดูแล แบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ และการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis)
ผลการศึกษา:1) การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบและด้านบวกของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับเหมาะสม 2) ภาระการดูแลเชิงอัตนัย การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาความทุกข์ทรมานของผู้ดูแล และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแล สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบได้ร้อยละ 36.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และ 3) ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และการรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิตสามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวก ได้ร้อยละ 29.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย